|
| | นายพัชรพล ผู้สมัครขอรับทุน EDF ระดับชั้น ม.ปลาย/อาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2567
นายพัชรพล
ชั้น ม.4 จังหวัดขอนแก่น
ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาระดับชั้น ม.ปลาย/อาชีวศึกษา
ปีการศึกษา 2567
กระผม นาย พัชรพล ลาวงศ์ กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ครอบครัวของผม อยู่ด้วยกัน 3 คน ประกอบไปด้วย พ่อ แม่ และตัวของผมเอง พ่อประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปในหมู่บ้าน เช่น รับจ้างซ่อมโทรทัศน์ ซ่อมจักรยาน ขายขนม ขายปลาที่ตลาด ครอบครัวของผมไม่มีที่นาทำกิน ที่บ้านไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใด ๆ มีแค่บ้านเล็ก ๆ แคบ ๆ ที่ไม่มีทางเข้าทางออก ถูกปิดตายด้วยกำแพงสังกะสี
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ญ.สลิลทิพย์ ผู้สมัครขอรับทุน EDF ระดับชั้น ม.ต้น (ม.1-3) ปีการศึกษา 2567
ด.ญ.สลิลทิพย์
ชั้น ป.6 จังหวัดอุดรธานี
ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาชั้น ม.ต้น (ม.1-3)
ปีการศึกษา 2567
หนูชื่อ ด.ญ.สลิลทิพย์ ต้นกันยา ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนจำปี อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี หนูอาศัยอยู่กับคุณพ่อและคุณแม่ ซึ่งประกอบอาชีพ เกษตรกร และ รับจ้างทั่วไป
บ้านของหนูเก่ามากไม่ได้รับการปรับปรุงหลังคาจึงรั่ว เวลาฝนตกจึงมีน้ำรั่วลงมาบนพื้นบ้าน ต้องเอากะละมังมารองน้ำที่รั่วลงมาจนกว่าฝนจะหยุดตก นาข้าวของที่บ้านหนูอยู่ติดคลอง
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ญ.รุ่งวิภา ผู้สมัครขอรับทุน EDF ระดับชั้น ม.ต้น ปีการศึกษา 2567
ด.ญ.รุ่งวิภา
ชั้น ม.1 จังหวัดอำนาจเจริญ
ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาชั้น ม.ต้น
ปีการศึกษา 2567
หนูชื่อเด็กหญิงรุ่งวิภา วงศาสตร์ กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ปัจจุบันอาศัยอยู่กับคุณตา คุณยาย พ่อ แม่ และพี่ชาย พ่อและแม่ประกอบอาชีพทำไร่ทำนา มีฐานะค่อนข้างยากจน หนูจึงเติบโตมาในท้องไร่ท้องนา อาจจะไม่ได้มีชีวิตที่สุขสบายเหมือนเด็กคนอื่น ๆ ในช่วงฤดูทำนาของทุกปีพ่อกับแม่ต้องออกไปปลูกข้าว และหลังเกี่ยวข้าวในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวหนูจะ
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ช.รัฐภูมิ ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาเพื่อเด็กพิการเรียนร่วมในโรงเรียนปกติ ปีการศึกษา 2567
ด.ช.รัฐภูมิ (นิว)
ชั้น ป.5 จังหวัดอุดรธานี
ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาเพื่อเด็กพิการเรียนร่วม
ในโรงเรียนปกติ ปีการศึกษา 2567
สวัสดีครับ ผมชื่อเด็กชายรัฐภูมิ นาสมภักดิ์ ชื่อเล่น นิว อายุ 11 ปี ปัจจุบันอาศัยอยู่กับพ่อและแม่ที่ อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี พ่อกับแม่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ผมมีพี่น้องทั้งหมด 2 คน ปัจจุบันผมกำลังเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านศรีบุญเรือง จังหวัดอุดรธานี ผมเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ เพราะว่าตอนที่แม่ตั้งท้องผม แม่มีอายุเยอะแล้ว เมื่อผมคลอดออกมาจึงมีความผิดปกติ
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ญ.ญารินดา ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาเด็กกำพร้าจากเหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีการศึกษา 2567
ด.ญ.ญารินดา (ดียา)
ชั้น ม.2 จังหวัดปัตตานี
ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาเด็กกำพร้าจากเหตุการณ์ไม่สงบ
ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีการศึกษา 2567
สวัสดีค่ะ หนูชื่อ เด็กหญิง ญารินดา มาหามะ อายุ 13 ปี ชื่อเล่นดียา กำลังศึกษาอยู่ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านตะบิงตีงี อำเภอ มายอ จังหวัดปัตตานี หนูอาศัยอยู่กับคุณย่าและน้ามาตั้งแต่เด็ก เพราะพ่อต้องไปทำงานเป็นอาสาสมัคร (อ.ส) เลยไม่ค่อยมีเวลาดูแลหนูกับพี่ชายจึงทำให้ย่ากับน้า เป็นคนดูแลมาตลอด ตั้งแต่เล็กจนโตย่าจะเป็นคนมาส่งหนูกับพี่ชายที่โรงเรียนทุกวัน
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | นางสาวรัชพฤกษ์ ผู้สมัครขอรับทุน EDF ระดับชั้น ม.ปลาย ปีการศึกษา 2567
นางสาวรัชพฤกษ์ (ชมพู่)
ชั้น ม.5 จังหวัดบุรีรัมย์
ผู้สมัครขอรับทุน EDF ระดับชั้น ม.ปลาย
ปีการศึกษา 2567
สวัสดีค่ะ ดิฉันชื่อ นางสาวรัชพฤกษ์ ชื่อเล่นชมพู่ ปัจจุบันเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็กประจำตำบล ดิฉันเลือกเรียนที่นี่เพราะใกล้บ้าน เพื่อเป็นการช่วยครอบครัวแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเรียน และการเดินทางมาโรงเรียนค่ะ
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ญ.ชุติกาญจน์ ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษามูลนิธิ EDF ระดับชั้น ม.ต้น ปีการศึกษา 2567
ด.ญ.ชุติกาญจน์
ชั้น ม.1 จังหวัดอำนาจเจริญ
ผู้สมัครขอรับทุน EDF ระดับชั้น ม.ต้น
ปีการศึกษา 2567
หนูชื่อ ด.ญ.ชุติกาญจน์ ใจใส กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 จังหวัดอำนาจเจริญ ครอบครัวของหนูมีประกอบไปด้วย ตา ยาย แม่ ป้า และตัวหนู ส่วนพ่อกับแม่แยกทางกันตั้งแต่หนูยังจำความไม่ได้ แม่จึงพาหนูมาขออาศัยอยู่กับตายาย หนูจำได้ว่าตอนเด็กๆ เวลาที่หนูอยากกินขนมหรือของอื่นๆ แต่ตากับยายก็ไม่มีเงินซื้อให้เพราะบ้านเราไม่มีเงิน
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ญ.เกษมณี ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาเด็กพิการเรียนร่วมในโรงเรียนปกติ ปีการศึกษา 2567
ด.ญ.เกษมณี (เกษ)
ชั้น ป.4 จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาเด็กพิการเรียนร่วม
ในโรงเรียนปกติ ปีการศึกษา 2567
หนูชื่อเด็กหญิงเกษมณี ชื่อเล่นเกษ เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันอาศัยอยู่กับคุณปู่ คุณย่า น้องสาว และหลานอีก 1 คน ส่วนคุณพ่อคุณแม่เดินทางไปทำงานอยู่ที่ต่างจังหวัด เพื่อส่งเงินมาดูแลหนูกับน้อง และจะกลับมาเยี่ยมพวกหนูปีละครั้งในช่วงปีใหม่
|
อ่านต่อ |
|
|
|
|
| | นายตะวันฉาย ผู้สมัครขอรับทุน EDF ระดับอาชีวศึกษาปีการศึกษา 2567
นายตะวันฉาย
ชั้น ม.3 จังหวัดสุรินทร์
ผู้สมัครขอรับทุน EDF ระดับอาชีวศึกษา
ปีการศึกษา 2567
ผมชื่อนายตะวันฉาย กำลังศึกาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันผมอาศัอยู่กับแม่และน้า ส่วนพี่สาวและพี่ชายอีก 2 คน ต่างแยกย้ายกันไปทำงานที่ต่างจังหวัด บางทีพี่สาวก็ส่งเงินมาให้แม่บ้างแต่ไม่บ่อยเพราะพี่ๆ ทุกคนต่างก็มีชีวิตที่ยากลำบากหาเช้ากินค่ำ รายได้แทบไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน
|
อ่านต่อ |
|
|
|
|
| | จากจุดเริ่มต้นสู่จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในชีวิตของขนมจีน
ด.ญ.ชญานิศ (ขนมจีน)
ชั้น ม.1 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จังหวัดบุรีรัมย์
เด็กนักเรียนทุนมูลนิธิEDFปีการศึกษา 2566
เมื่อประมาณต้นปี 2566 ฝ่ายทุนการศึกษามูลนิธิ EDF ได้รับใบสมัครเด็กนักเรียนเพื่อขอทุนเรียนต่อชั้น ม.1 ในปีการศึกษา 2566 จากคุณครูแนะแนว โรงเรียนเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ นั่นคือ ด.ญ.ชญานิศ สถิตอินทาพร หรือน้องขนมจีน ซึ่งขณะนั้นเรียนอยู่ชั้น ป.6 เป็นเด็กยากจนแต่เรียนดี และมีความประพฤติเรียบร้อย |
อ่านต่อ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| | พัลลภ ทิมา อดีตเด็กนักเรียนทุนการศึกษามูลนิธิ EDF ปี พ.ศ.2538-2540 พัลลภ ทิมา
ปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1
โปรแกรมวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
อดีตผู้ประกาศข่าวช่อง 5
ปัจจุบันประกอบอาชีพครูสอนร้องเพลง
อดีตเด็กนักเรียนทุนมูลนิธิ EDF ปี พ.ศ. 2538-2540
โรงเรียนหนองกี่พิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์
ครอบครัวของผมเดิมทีมี 3 คน คือ แม่ พี่สาว และผม (พ่อเสียชีวิตตั้งแต่ผมอายุ 6 ขวบ) ปัจจุบันแม่และพี่สาวแต่งงานมีครอบครัวไปแล้ว อยู่คนละจังหวัด แม่อยู่ที่บุรีรัมย์ พี่สาวอยู่ที่ปทุมธานี ส่วนผมอยู่ที่กรุงเทพฯ คนเดียว
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ภัทรพงศ์ มาตขาว อดีตเด็กนักเรียนทุนการศึกษามูลนิธิ EDF ปี พ.ศ.2537-2539 ภัทรพงศ์ (อดุลย์) มาตขาว
ปริญญาตรี โปรแกรมวิชาสัตวบาล
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ปัจจุบันอาชีพ ตำแหน่งเจ้าพนักงานสัตวบาล สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดยโสธร
อดีตเด็กนักเรียนทุนมูลนิธิ EDF ปีพ.ศ. 2537-2539
โรงเรียนบ้านนาโส่ จังหวัดยโสธร
ผมชื่อนายภัทรพงศ์ มาตขาว อาศัยอยู่ที่จังหวัดยโสธร เป็นนักเรียนทุนเก่าของมูลนิธิ EDF ระหว่างปี พ.ศ. 2537-
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ความหวังใต้แสงตะเกียง
เนื่องจากพ่อแม่ทำงานก่อสร้าง และต้องเปลี่ยนสถานที่ทำงานไปเรื่อยๆ ด.ญ.รุ่งจิราพร จงสันเทียะ หรือน้องมะปราง เด็กนักเรียนชั้น ม.1 โรงเรียนหนองแวงพิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา จึงต้องมาอาศัยอยู่กับลุงป้า และลูกพี่ลูกน้องอีก 2 คน โดยลุงกับป้ามีอาชีพทำสวนผัก ทำไร่ ทำนา บางวันลุงก็ทำงานรับจ้างรายวัน เช่นรับจ้างถางหญ้า หรือก่อสร้างได้ค่าแรงวันละ 200-300 บาท ลำพังรายได้ของลุงกับป้ารวมกันยังแทบไม่พอกับค่าใช้จ่ายภายในบ้าน และค่าเลี้ยงดูส่งเสียหลานๆ ทั้ง 3 คน หลายครั้งที่รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่ายก็ต้องไปหยิบยืมจากญาติ และเพื่อนบ้านใกล้เคียง
นานๆ ครั้งพ่อกับแม่จะส่งเงินมาให้ลุงกับป้าเป็นค่าอาหารและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเรียนของมะปราง หากเดือนไหนไม่มีงานก่อสร้าง พ่อกับแม่ก็จะกลับมาอยู่บ้านช่วยลุงกับป้าทำการเกษตร
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ช.ตะวันฉาย ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษา 1 ปี ระดับ ม.ต้น ปีการศึกษา 2565 จ.สุรินทร์
ด.ช.ตะวันฉาย (ฉาย) อายุ 14 ปี ชั้น ม.2
รร.สำโรงทาบวิทยาคม จ.สุรินทร์
ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษา 1 ปี ระดับ ม.ต้น ปีการศึกษา 2565
สวัสดีครับ ผมชื่อเด็กชายตะวันฉาย ชื่อเล่นฉาย อายุ 14 ปี เรียนอยู่ชั้น ม.2 โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม จังหวัดสุรินทร์ ผมมีพี่ 4 คน ทุกคนไม่ได้เรียนหนังสือต่อ มีผมคนเดียวที่ได้เรียน ครอบครัวของผมลำบากมาก เพราะพ่อเพิ่งเสียชีวิตเมื่อปีก่อน หลังจากป่วยเป็นมะเร็งมาหลายปี แม่ต้องทำงานหนักเพียงคนเดียวตั้งแต่พ่อเริ่มป่วย เพื่อหาเงินมาเลี้ยงดูทุกๆ คนแทนพ่อ และเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการพาพ่อไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลอยู่เป็นประจำ
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ญ.นุชจิรา ผู้สมัครขอรับทุนเด็กนักเรียนพิการเรียนร่วมในโรงเรียนปกติ ปีการศึกษา 2565 จ.มุกดาหาร
ด.ญ.นุชจิรา (ไข่มอญ) ชั้น ป.3
รร.บ้านป่งเปือย จ.มุกดาหาร
ผู้สมัครขอรับทุนเด็กนักเรียนพิการเรียนร่วมในโรงเรียนปกติ ปีการศึกษา 2565
เขียนโดย คุณครูทิพานัน เสียงหวาน คุณครูประจำชั้นของน้องไข่มอญ
เด็กหญิงนุชจิรา หรือชื่อเล่นไข่มอญ กำลังเรียนอยู่ชั้น ป.3 โรงเรียนบ้านป่งเปือย จ.มุกดาหาร น้องอาศัยอยู่กับ พ่อแม่ และน้องสาวอีก 1 คน น้องไข่มอญพิการทางร่างกาย และการเรียนรู้ ขาทั้งสองข้างมีกระดูกที่โค้งงอ ทำให้ยืนหรือเดินเป็นเวลานานไม่ได้ การเดินทางไปโรงเรียนจึงยากลำบาก แม่ต้องคอยมารับมาส่งที่หน้าห้องเรียนเป็นประจำ เวลาทำกิจกรรม
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ช.วงศกร ผู้สมัครขอรับทุนเด็กนักเรียนพิการเรียนร่วมในโรงเรียนปกติ ปีการศึกษา 2565 จ.กาฬสินธุ์
ด.ช.วงศกร (ฟิว) อายุ 12 ปี ชั้น ป.6
รร.บ้านส้มป่อย จ.กาฬสินธุ์
ผู้สมัครขอรับทุนเด็กนักเรียนพิการเรียนร่วมในโรงเรียนปกติ ปีการศึกษา 2565
สวัสดีครับ ผมชื่อ เด็กชายวงศกร ชื่อเล่นฟิว อายุ 12 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้น ป.6 โรงเรียนบ้านส้มป่อย จังหวัดกาฬสินธุ์ ผมมีความพิการทางร่างกาย และการมองเห็น ตาของผมจะมองเห็นได้เลือนราง ไม่ชัดเจน ผมอาศัยอยู่กับ แม่ ตา และยาย แม่ทำอาชีพรับจ้างทั่วไป ตามีอาชีพทำนา ส่วนยายทอผ้าอยู่ที่บ้าน
|
อ่านต่อ |
|
|
|
|
| | ด.ช.พนากร ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาต่อเนื่อง 3 ปี ระดับ ม.ต้น ปีการศึกษา 2565 จ.ศรีสะเกษ
เด็กชายพนากร (กาฟิวส์)
อายุ 13 ปี ชั้น ม.1 รร.บ้านสามเส้า จ.ศรีสะเกษ
ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาต่อเนื่อง 3 ปี ระดับ ม.ต้น ปีการศึกษา 2565
ครอบครัวของผมมีสมาชิกทั้งหมด 4 คน ประกอบด้วย ตา ยาย ผม และน้องชาย บ้านของผมเป็นบ้านก่ออิฐหลังเล็กๆ สภาพเก่าทรุดโทรม ครอบครัวมีฐานะยากจนมาก ตามีอาชีพรับจ้างทั่วไป ส่วนยายตาบอดมองไม่เห็น จึงไม่สามารถทำงานได้ ในวันหยุด ผมจะไปรับจ้างขุดมันสำปะหลัง กรีดยางพารา บางครั้งได้ค่าจ้างมา 200 บาทหรือแล้วแต่เขาจะให้ ผมก็จะให้ตาเก็บไว้เป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว ส่วนแม่ของผมเดินทางไปทำงานที่ต่างจังหวัด แต่ก็ตกงานเนื่องจากสถาณการณ์โควิด จึงไม่มีเงินส่งมาให้ทางบ้าน
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ช.ศุภณัฐ ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาเด็กนักเรียนพิการเรียนร่วมในโรงเรียนปกติ ปีการศึกษา 2565 จ.หนองบัวลำภู
เด็กชายศุภณัฐ (โก้)
อายุ 13 ปี ชั้น ม.1 รร.ฝายหินปะชารักษ์ จ.หนองบัวลำภู
ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาเด็กนักเรียนพิการเรียนร่วมในโรงเรียนปกติ ปีการศึกษา 2565
พ่อกับแม่ของผมเลิกกันตั้งแต่ผมอายุ 1 ขวบ แม่เอาผมมาฝากไว้ให้ตากับยายเลี้ยงแล้วเดินทางไปทำงานที่กรุงเทพ ตอนผมเด็กๆ ตากับยายต้องเอาผมไปเลี้ยงที่ทุ่งนา และไร่มันสำปะหลังเพราะต้องทำงานและไม่สามารถปล่อยให้ผมอยู่บ้านเพียงลำพังได้ ต่อมาแม่แต่งงานใหม่มีน้องอีก 2 คน แม่ก็เอาน้องทั้ง 2 คนมาให้ตากับยายเลี้ยง ตากับยายจึงต้องทำงานหนักเพื่อหาเงินมาเลี้ยงดูผม กับน้องๆ ได้เรียนหนังสือ
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | น.ส.สุวี ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาชั้น ม.ปลาย/อาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2565 จ.อำนาจเจริญ
นางสาวสุวี (เปรี้ยว)
อายุ 16 ปี ชั้น ม.4 รร.พนาศึกษา จ.อำนาจเจริญ
ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาชั้น ม.ปลาย/อาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2565
ในปีการศึกษา 2565 นี้ หนูจะเรียนต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แต่ทางบ้านมีฐานะยากจนจึงเขียนจดหมายแนะนำตัวมายังมูลนิธิ EDF เพื่อขอรับทุนเรียนต่อค่ะ
หนูอาศัยอยู่กับตา แม่ที่ขาพิการ และน้องสาวที่มือพิการ บ้านของหนูเป็นบ้านไม้เก่าๆ ฝาผนังทำด้วยกระดานไม้ พื้นเป็นพื้นไม้ บ้านหลังนี้สร้างตั้งแต่สมัยตากับยาย ปัจจุบันจึงมีสภาพทรุดโทรม เพราะไม่มีเงินสร้างใหม่ ได้แต่ซ่อมแซมให้พอสามารถอาศัยอยู่ได้ เครื่องใช้ไฟฟ้ามีแค่ทีวี และพัดลมเท่านั้น
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ช.อัดฮัม ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาเด็กกำพร้า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีการศึกษา 2565 จ.นราธิวาส
ด.ช.อัดฮัม
อายุ 12 ปี ชั้น ป.6 จ.นราธิวาส
รอทุนการศึกษาเด็กกำพร้า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผมชื่อ เด็กชายอัดฮัม เรียนอยู่ชั้น ป.5 โรงเรียนชุมชนสหพัฒนา จ.นราธิวาส ครอบครัวของผมอาศัยอยู่กับ แม่ พี่ชาย คุณตา และคุณยาย ที่อำเภอระแงะ ตั้งแต่เกิด จนเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2553 ผมต้องสูญเสียคุณพ่อไปจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ตั้งแต่ผมอยู่ในท้องแม่ได้ 7 เดือน ผมจึงไม่มีโอกาสได้เจอหน้าพ่อ เห็นแต่เพียงในภาพถ่าย
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ญ.พนิดา ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาเด็กพิการเรียนร่วมในโรงเรียนปกติ ปีการศึกษา 2565 จ.อุดรธานี
ด.ญ.พนิดา (เนย)
อายุ 11 ปี ชั้น ป. 5 จ.อุดรธานี
รอทุนการศึกษาเด็กพิการเรียนร่วมในโรงเรียนปกติ
สวัสดีค่ะ หนูชื่อ เด็กหญิงพนิดา ชื่อเล่น เนย อายุ 11 ปี ตอนนี้กำลังเรียนอยู่ชั้นปะถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองแวงฮีคำหมากคูณ จังหวัดอุดรธานี บ้านที่หนูอยู่อาศัยเป็นบ้านของญาติ เป็นบ้านชั้นเดียว หลังคามุงสังกะสี สภาพทรุดโทรม หนูอาศัยอยู่กับพ่อแม่ พ่อมีอาชีพรับจ้างทั่วไป ส่วนแม่ไม่ได้ทำงาน เพราะต้องคอยดูแลหนูซึ่งไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ญ.ณัฐธิดา ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาต่อเนื่อง 3 ปี ระดับชั้น ม.ต้น (ม.1-3) ปีการศึกษา 2565 จ.ร้อยเอ็ด
ด.ญ.ณัฐธิดา (เปีย)
อายุ 12 ปี ชั้น ป.6 จ.ร้อยเอ็ด
รอทุนการศึกษาต่อเนื่อง 3 ปี ระดับชั้น ม.ต้น (ม.1-3)
สวัสดีค่ะ หนูชื่อ เด็กหญิงณัฐธิดา ชื่อเล่นเปีย อายุ 12 ปี เด็กนักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียนชุมชนบ้านเมืองหงส์ จังหวัดร้อยเอ็ด หนูจึงอาศัยอยู่กับตาและยายตั้งแต่หนูยังเป็นเด็กตัวเล็กๆ ตากับยายจึงเป็นคนรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวทุกอย่าง จนต้องไปหยิบยืมเป็นหนี้เป็นสิน เพื่อนำมาหมุนเวียนใช้จ่ายในครอบครัว และลงทุนทำนา สิ่งเดียวที่หนูตอบแทนบุญคุณตากับยายได้คือ การตั้งใจเรียนหนังสือ เป็นเด็กดี ช่วยงานตากับยาย เช่นทำงานบ้าน หุงข้าว ล้างจาน ซักเสื้อผ้า และช่วยงานทุกอย่างเท่าที่จะทำได้
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ญ.รัตติการ์ ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษา 1 ปี ระดับชั้น ม.ต้น (ม.2) ปีการศึกษา 2565 จ.นครราชสีมา
ด.ญ.รัตติการ์ (แนน)
อายุ 13 ปี ชั้น ม.1 จ.นครราชสีมา
รอทุนการศึกษา 1 ปี ระดับชั้น ม.ต้น (ม.2)
สวัสดีค่ะ หนูชื่อ เด็กหญิงรัตติการ์ ชื่อเล่นแนน กำลังเรียนอยู่ชั้น ม.1 โรงเรียนบ้านหนองหมาก จ.นครราชสีมา หนูมีพี่น้องทั้งหมด 3 คน หนูเป็นพี่สาวคนโต บ้านของหนูเป็นบ้านไม้หลังเล็กๆ อาศัยอยู่ด้วยกัน 5 คน มีพ่อ แม่ ตัวหนู และน้องสาวอีก 2 คนค่ะ พ่อกับแม่ทำงานรับจ้างทั่วไป เช่นขุดมันสำปะหลัง หักข้าวโพด ถ้าช่วงไหนไม่มีงานพ่อกับแม่ก็จะไปหาไม้มาเผาถ่านขาย ขายถุงละ 30 บาทค่ะ หนูก็จะช่วยพ่อแม่กรอกถ่านใส่ถุง และเอาไปขาย
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | นาย กิตติกวิน ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษา 1 ปี ระดับม.ปลาย/อาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2565 จ.ขอนเเก่น
นาย กิตติกวิน (โอ๋)
อายุ 16 ปี ชั้น ม.3 จ.ขอนเเก่น
รอทุนการศึกษา 1 ปี ระดับม.ปลาย/อาชีวศึกษา
สวัสดีครับ ผมชื่อ นายกิตติกวิน ชื่อเล่น โอ๋ อายุ 16 ปี เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านห้วยทรายทุ่งมน อ.เเวงน้อย จ.ขอนเเก่น ตั้งเเต่จำความได้ ผมก็อยู่กับตายายที่ขอนแก่น ยายผมเล่าว่าพ่อ ทิ้งผมไว้กับแม่ตั้งแต่ผมอายุ 3-4 ขวบแม่เลยพาผมมาอยู่กับยาย ผมอยู่กับตายายมาเรื่อยๆ จนตากับยายแยกทางกัน ผมจึงเหลือยายเพียงคนเดียว ยายเริ่มอายุมากขึ้นและล้มป่วยเข้าโรงพยาบาลบ่อยๆ ผมจึงต้องขาดเรียนเพื่อไปเฝ้ายายในบางครั้ง
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ญ.ดารารัตน์ ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาเพื่อเรียนต่อชั้น ม.ต้น (ม.1-3) ปีการศึกษา 2565 จ.นครพนม
สวัสดีค่ะ หนูชื่อ ด.ญ.ดารารัตน์ กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนาคู่ จ.นครพนม หนูอาศัยอยู่บ้านหลังเล็กๆ กับพ่อแม่ ที่มีอาชีพทำนาและรับจ้างทั่วไป ซึ่งรายได้ก็แทบจะไม่พอกับค่าใช้จ่าย และบางครั้งบ้านของเราไม่มีเงินแม้แต่บาทเดียว ชีวิตของครอบครัวของหนูยากจนและลำบากมากค่ะ
เวลาที่อยู่บ้าน หนูก็จะช่วยแม่ทำงานบ้านทุกอย่าง เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างจาน นึ่งข้าว และเวลาที่ไปโรงเรียนหนูก็จะพยายามตั้งใจเรียน และรับผิดชอบหน้าที่ต่างๆ ที่คุณครูมอบหมายให้ดีที่สุด ส่วนในวันหยุดก็จะทำงานบ้าน ทำการบ้าน และเล่นกับเพื่อนๆ วิชาที่หนูชอบเรียนมากที่สุด คือ วิชาภาษาไทย เพราะคุณครูสอนสนุก และเข้าใจง่าย ส่วนกีฬาที่หนูชอบเล่นคือปิงปองค่ะ โตขึ้นหนูอยากเป็นหมอ เพราะหนูอยากดูแลรักษาประชาชน และคนที่เรารักให้มีร่างกายที่แข็งแรง
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ช.ภูมินทร์ ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาเพื่อเรียนต่อชั้น ม.ต้น (ม.1-3) ปีการศึกษา 2565 จ.ขอนแก่น
สวัสดีครับ ผมชื่อ ด.ช.ภูมินทร์ เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสร้างแป้นดอนนาแพง จังหวัดขอนแก่น
ครอบครัวของผมมีฐานะยากจน มีสมาชิกในครอบครัวทั้งหมด 6 คน ได้แก่พ่อ แม่ ตา ยาย พี่สาว และตัวผมเอง พ่อแม่มีอาชีพทำนา และทำงานรับจ้างทั่วไป มีรายได้ไม่แน่นอน ส่วนตายายก็อายุมากแล้ว ทำงานหนักไม่ได้เหมือนเมื่อก่อน ผมจึงช่วยงานบ้านทุกอย่างเท่าที่ทำได้ เช่นกวาดบ้าน ล้างชาม และหุงข้าวรอพ่อแม่กลับมาจากทำนา
คุณครูบอกว่า “น้องภูมินทร์ เป็นนักเรียนที่ตั้งใจเรียน เป็นคนที่ช่างชักถามครูผู้สอนในเรื่องที่ตนเองยังไม่เข้าใจ มีความประพฤติเรียบร้อย นิสัยร่าเริงแจ่มใส มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นที่รักของเพื่อนๆ ช่างเจรจา
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ช.ปัญญาวุฒิ ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาเพื่อเรียนต่อชั้น ม.ต้น (ม.1-3) ปีการศึกษา 2565 จ.มหาสารคาม
สวัสดีครับ ผมชื่อ ด.ช.ปัญญาวุฒิ ชื่อเล่นเพชร เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนาฝาย จังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบันผมอาศัยอยู่กับตายาย และพ่อแม่ อาชีพหลักครอบครัวคือทำนา ส่วนคุณพ่อทำงานรับจ้างทั่วไปเสริมด้วย แต่ก็ไม่ได้มีงานเป็นประจำ การทำนาบางปีแห้งแล้งทำให้ผลผลิตได้น้อย ต้นทุนในการทำนาก็สูง แต่ขายข้าวไม่ได้ราคา จนขาดทุนและเป็นหนี้สิน
ชีวิตประจำวันของผมในช่วงวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ผมจะตื่นเช้ามาเก็บที่นอนของตัวเอง ทำภารกิจส่วนตัว แต่งตัวไปโรงเรียน ผมต้องรีบตื่นเช้า เพราะต้องเดินเท้าไปโรงเรียนเองทุกวัน ส่วนในช่วงวันเสาร์และวันอาทิตย์ผมก็ตื่นเช้าเช่นเดิม เก็บที่นอนของตัวเองเสร็จแล้วก็ช่วยงานบ้าน เก็บกวาดบ้าน ล้างถ้วยล้างจาน ซักเสื้อผ้าของตัวเองเพื่อแบ่งเบางานของคุณแม่
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ช.กรกช ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาเพื่อเรียนต่อชั้น ม.ต้น (ม.1-3) ปีการศึกษา 2565 จ.ขอนแก่น
สวัสดีครับผมชื่อ ด.ช.กรกช นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสร้างแป้นดอนนาแพง จังหวัดขอนแก่น ผมอยู่ในครอบครัวที่ฐานะยากจน มีสมาชิกในครอบครัวทั้งหมด 7 คน ประกอบด้วย พ่อแม่ ยาย พี่สาว น้องชาย น้าชาย และตัวผมเอง พ่อแม่เป็นชาวนา ไม่มีรายได้ประจำ มีที่นาแค่พอปลูกข้าวไว้กินในครอบครัว ซึ่งในแต่ละปีก็แทบไม่เพียงพอ ต้องซื้อข้าวกิน พ่อกับแม่ไม่มีรายได้ประจำ มีแค่งานรับจ้างทั่วไปในหมู่บ้าน ซึ่งก็ไม่เพียงพอกับรายจ่ายในครอบครัว
บ้านของผมมีสภาพเก่า และชำรุดทรุดโทรดมาก ไม้บางชิ้นผุ และหลุดออกมา เพราะเป็นเพียงการนำเศษไม้ และสังกะสีมาตอกตะปูเพื่อแค่พอบังแดด บังลม แต่ไม่สามารถกันฝนได้ เวลาที่ฝนตกหนัก หลังคาและผนังบ้านก็จะรั่วหลายจุด พ่อแม่ของผมมีภาระค่าใช้จ่ายมาก เพราะต้องส่งเสียลูกๆ ที่กำลังเรียนหนังสือ
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ช.คชภัค ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาเพื่อเรียนต่อชั้น ม.ต้น (ม.1-3) ปีการศึกษา 2565 จ.มหาสารคาม สวัสดีครับผมชื่อ ด.ช.คชภัค ชื่อเล่น แคน อายุ 12 กำลังเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดมหาสารคาม ผมเกิดที่จังหวัดกาฬสินธุ์ พอเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พ่อแม่หย่าร้างกัน พ่อจึงพาผมย้ายมาที่บ้านเกิดของพ่อที่จังหวัดมหาสารคาม เพื่อมาขออาศัยอยู่กับ ปู่กับย่า ซึ่งแก่มากแล้ว พ่อเป็นเสาหลักของครอบครัวเพียงคนเดียว มีอาชีพทำนา พอแค่ได้ข้าวเก็บไว้กินในครอบครัว ส่วนรายได้อื่นได้มาจากการรับจ้างทั่วไป ซึ่งมีรายได้ไม่แน่นอน บางครั้งไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในบ้าน ทั้งค่ารักษาพยาบาลของ ปู่กับย่า และค่าใช้จ่ายในการเรียนของผม พ่ออยากให้ผมเรียนต่อในชั้นสูงๆ จะได้ไม่ลำบากเหมือนพ่อ แต่ก็ไม่รู้ว่าพ่อจะสามารถส่งเสียผมเรียได้ถึงแค่ไหน เพราะพวกเรามีรายได้เพียงหาเช้ากินค่ำ |
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ญ.ชวนันท์ ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาเพื่อเรียนต่อชั้น ม.ต้น (ม.1-3) ปีการศึกษา 2565 จ.มุกดาหาร สวัสดีค่ะ หนูชื่อ ด.ญ.ชวนันท์ ชื่อเล่นชื่อตั๊กแตน อายุ 12 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดมุกดาหาร หนูเป็นลูกคนโต มีน้องสาว 1 คน และน้องชายอีก 1 คน หนูและน้องๆอาศัยอยู่กับลุงและป้า เพราะพ่อแม่ของหย่าร้างกัน พ่อไม่เคยส่งเงินมาให้หนูและน้องเลย มีแค่แม่คนเดียวที่หาเงินมาเลี้ยงหนูและน้องๆ แม่ต้องเดินทางไปหางานทำที่ต่างจังหวัด ฝากหนูกับน้องๆ ไว้กับลุงและป้า ตั้งแต่หนูอยู่ชั้น อนุบาล 2
ก่อนหน้านี้แม่ส่งเงินมาให้ลุงกับป้า เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลหนูกับน้องๆ แต่ตอนนี้แม่ไม่ได้ส่งเงินมาแล้ว เพราะแม่มีรายได้น้อยลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ทำให้ภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดของหนูและน้องต้อง ตกอยู่ที่ลุงกับป้า ซึ่งมีอาชีพเป็นชาวนา รายได้มาจากการทำนา และรับจ้างทั่วไป ซึ่งก็มีรายได้ไม่มาก ทำให้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว และค่าใช้จ่ายในการเรียนของหนูกับน้องๆ |
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ช.สรรเพชญ ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาเพื่อเรียนต่อชั้น ม.ต้น (ม.1-3) ปีการศึกษา 2565 จ.นครราชสีมา
สวัสดีครับ ผมชื่อ ด.ช.สรรเพชญ ชื่อเล่น อ๋อม อายุ 11 ปี ปัจจุบันผมกำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดนครราชสีมา ผมอาศัยอยู่กับพ่อแม่ และพี่สาว ในบ้านเช่า ที่พ่อกับแม่ใช้เปิดเป็นร้านอาหารเล็กๆ ขายก๋วยเตี๋ยวราดหน้า เพื่อหารายได้ ผมดีใจมากที่ได้ช่วยครอบครัวหารายได้ โดยผมจะตื่นตั้งแต่ตี 4 เพื่อไปช่วยแม่ซื้อของ เลือกวัตถุดิบที่ตลาด และเดรียมวัตถุดิบ เช่นช่วยหั่นหมู หั่นผัก หั่นเส้นก๋วยเตี๋ยว เตรียมทุกอย่างเท่าที่ผมจะช่วยได้ ทำให้ครอบครัวของเราพอมีรายได้เล็กๆ น้อยๆ
หลังปิดร้านในตอนเย็นผมก็จะช่วยเก็บของ ล้างจาน เช็ดโต๊ะ ทำความสะอาดหน้าร้าน นอกจากนี้ผมยังช่วยทำงานบ้านต่างๆ เพื่อแบ่งเบาภาระของพ่อแม่ จนเมื่อมีโรคโควิด-19 ระบาด ครอบครัวของเราก็มีรายได้ลดลงอย่างมาก
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ญ.สุภัชญา ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาเพื่อเรียนต่อชั้น ม.ต้น (ม.1-3) ปีการศึกษา 2565 จ.มุกดาหาร
สวัสดีค่ะ หนูชื่อ ด.ญ.สุภัชญา ชื่อเล่นชื่อเก๋ อายุ 12 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดมุกดาหาร ปัจจุบันหนูอาศัยอยู่กับครอบครัว ประกอบไปด้วยคุณพ่อ คุณแม่ และพี่สาวอีก 1 คน ที่เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 คุณพ่อคุณแม่ของประกอบอาชีพทำไร่ทำนา ปีนี้ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะราคาข้าว ทำให้รายได้ลดน้อยลง หนูและ พี่สาว ต่างอยู่ในวัยเรียนทั้งคู่ ทำให้ครอบครัวมีรายจ่ายค่อนข้างมาก รายได้หลักของครอบครัวจากการทำไร่ทำนา จึงไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายค่ะ
ในช่วงวันหยุด หนูและพี่สาวจะไปทำงานรับจ้างเกี่ยวข้าว และปลูกมันสำปะหลัง เพื่อหารายได้พิเศษ มาช่วยเหลือครอบครัว ส่วนในวันที่ต้องไปโรงเรียน หนูก็จะตั้งใจเรียนให้เต็มที่ หลังเลิกเรียน หนูจะช่วยทำงานบ้านต่างๆ เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างถ้วย ล้างจาน ซักผ้า เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของทุกๆ คนในครอบครัว
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ครูนิตยา มั่นยืน อดีตเด็กนักเรียนทุนการศึกษามูลนิธิ EDF ปี พ.ศ.2546-2548
นิตยา มั่นยืน (แต๋น) อายุ 30 ปี
การศึกษาสูงสุด ปริญญาตรี (คบ.5 ปี)
สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
ปัจจุบัน ข้าราชการครู โรงเรียนบ้านจันรม จังหวัดสุรินทร์
อดีตเด็กนักเรียนทุนมูลนิธิ EDF ปี 2546-2548 (ม.1-3)
โรงเรียนเทนมีย์มิตรประชา จังหวัดสุรินทร์
ในวัยเด็กดิฉันและพี่ชายอาศัยอยู่กับคุณปู่ คุณย่า เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่ต้องไปทำงานที่ต่างจังหวัด ดิฉันถูกฝึกให้รู้จักช่วยเหลือตนเอง และครอบครัวตั้งแต่เด็ก คุณปู่มีอาชีพเป็นเกษตรกร ส่วนคุณย่าประกอบอาชีพค้าขาย
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ปิยะพร ทองคำ อดีตเด็กนักเรียนทุนการศึกษามูลนิธิ EDF ปี พ.ศ.2557-2559
นางสาวปิยะพร ทองคำ (ชมพู่) อายุ 20 ปี
ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
อดีตเด็กนักเรียนทุนมูลนิธิ EDF ปี 2557-2559 (ม.1-ม.3)
โรงเรียนบ้านห้วยยางชัยพร จังหวัดอุดรธานี
ชีวิตที่ดิฉันเริ่มจำความได้ ก็มีแต่ตากับยายที่อยู่ข้างๆ ในวัยเด็กตอนกำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นอนุบาล ก็มีแต่คุณตา ที่คอยแต่งตัวให้ก่อนไปโรงเรียน และคุณยายที่คอยทำกับข้าวให้ทานในทุกเช้า
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | วันนี้ที่ดีกว่าของไออุ่น
สวัสดีครับ ผมชื่อเด็กชายเสฎฐวุฒิ สิมมา ชื่อเล่นไออุ่น อายุ 13 ปี เรียนอยู่ชั้น ม.1 รร.บ้านหัวหนอง (สังฆวิทยา) จ. มหาสารคาม พ่อแม่หย่าร้างกันตั้งแต่ผมยังเด็ก แม่เป็นเพียงคนเดียวที่เลี้ยงดูผมมา ก่อนหน้านี้แม่มีอาชีพทำนา และรับจ้างทั่วไป แต่รายได้ไม่แน่นอน จนในปี 2560 แม่จึงตัดสินใจเดินทางไปหางานทำที่กรุงเทพฯ ช่วงก่อนที่โควิด-19 จะระบาด แม่เคยทำงานเป็นพนักงานทำความสะอาด แม้รายได้จะไม่มาก แต่ก็พอมีเงินส่งเสียให้ทางบ้าน และเป็นค่าเล่าเรียนของผม จนเมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา แม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 และกลับมาอยู่ที่บ้าน
แต่แม่ก็ยังคงสู้เพื่อเป็นเสาหลักของครอบครัว กลับมาทำนา เลี้ยงวัว และรับจ้างทั่วไป ได้รายได้ประมาณเดือนละ 1,500 บาท แต่งานรับจ้างก็ไม่ค่อยมีเนื่องจากติดสถานการณ์โควิด-19
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | เรียนออนไลน์กับการปรับตัวของโรงเรียนในชนบท
การเรียนออนไลน์ นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการเดินทางมาโรงเรียน ป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กในชนบทนั้นมีปัญหาที่เกิดขึ้นหลายอย่าง จากการสัมภาษณ์คุณครูท่านหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น ได้ให้ข้อมูลกับมูลนิธิ EDF ว่า ในชุมชนมีคนกลับมาจากกรุงเทพฯ เป็นจำนวนมาก
ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ทางโรงเรียนจึงได้จัดให้มีการเรียนการสอนออนไลน์เต็มรูปแบบ โดยทางโรงเรียนจะเตรียมใบงานและแบบฝึกหัดไว้และให้เด็กๆ มารับที่โรงเรียนเพื่อนำไปใช้เรียนออนไลน์ สำหรับเด็กนักเรียนชั้นประถมอาจต้องลำบากกว่าชั้นมัธยมเนื่องจากต้องมีผู้ปกครองคอยเรียนไปด้วยกันกับเด็กด้วย
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | "แม้จะต้องเดินไกลขึ้น แต่ยังคงไม่ทิ้งความฝัน" นายปาณัสม์ คล้ายกับคำ (นัท) อดีตนักเรียนทุนมูลนิธิ EDF (2558-2563) นายปาณัสม์ คล้ายกับคำ (นัท)
อายุ 18 ปี อดีตนักเรียนทุนมูลนิธิ EDF
ชั้น ม.1- ม.3 รร.บ้านหมากหญ้า จ.อุดรธานี (ปีการศึกษา 2558-2560)
ชั้น ม.4- ม.6 รร.หนองวัวซอพิทยาคม จ.อุดรธานี (ปีการศึกษา 2561-2563)
หากย้อนกลับไปเมื่อปี 2558 มูลนิธิ EDF ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของปาณัสม์ คล้ายกับคำ หรือน้องนัท เด็กชายตัวเล็กแต่ใจแกร่ง นักเรียนชั้น ป.6 จาก จ.อุดรธานี ที่ไม่ยอมแพ้ต่อความยากจน ช่วยพ่อแม่รับจ้างสานหวดนึ่งข้าวเหนียวหลังเลิกเรียนเพื่อปากท้องของครอบครัว แต่ก็ยังคงมุ่งมั่นตั้งใจเรียนจนสอบได้เกรด 4 ทุกวิชา จนได้รับโอกาสจากผู้บริจาคทุนการศึกษามูลนิธิ EDF จนสามารถเรียนจบชั้น ม.6 โปรแกรมวิทย์-คณิต ด้วยเกรดเฉลี่ย 3.41 ในปีการศึกษา 2563 ที่ผ่านมา
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ช.มูอาฟันดี ผู้สมัครขอรับทุนเด็กกำพร้า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีการศึกษา 2564 จ.นราธิวาส
สวัสดีครับ ผมชื่อเด็กชายมูอาฟันดี ชื่อเล่นดิว อายุ 9 ปี ปัจจุบันเรียนอยู่ชั้น ป.2 ที่จังหวัดนราธิวาสผมอาศัยอยู่กับตายาย พี่ชาย และญาติ แม่ของผมเดินทางไปหางานทำที่ประเทศมาเลเซียหลังจากที่พ่อเสียชีวิตได้ไม่นาน ปัจจุบันแม่ยังคงอยู่ที่ประเทศมาเลเซียเนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ทำให้แม่ไม่สามารถกลับมายังประเทศไทยได้ และไม่ได้ส่งเงินมาให้เป็นค่าเล่าเรียนของผมตั้งแต่โควิดเริ่มระบาดเมื่อปีก่อนเนื่องจากแม่ถูกลดเงินค่าจ้าง
|
อ่านต่อ |
|
|
|
|
| | ด.ช.กิตติวัฒน์ ผู้สมัครขอรับทุนนักเรียนพิการเรียนร่วม มูลนิธิ EDF ปีการศึกษา 2564 จ.มุกดาหาร
ผมชื่อเด็กชายกิตติวัฒน์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่จังหวัดมุกดาหาร บ้านของผมเป็นบ้านกึ่งปูนกับไม้ 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นปูนชั้นบนเป็นไม้ มีสมาชิกในครอบครัว 4 คน คือ ตา ยาย พี่ชาย และตัวผม ส่วนพ่อกับแม่หย่าร้างกันตอนผมอายุ 1 ปี ตาและยายก็อาศัยเงินเบี้ยผู้สูงอายุส่งเสียให้ผมเรียนหนังสือ
เนื่องจากผมพิการทางร่างกายคือขาทั้งสองข้างเดินไม่ได้ ทำให้การมาโรงเรียนยากลำบาก แต่ถ้ามาโรงเรียนในช่วงที่ไม่มีรถเข็น เพื่อนๆ ในห้องก็จะช่วยพยุง หรืออุ้มไปเรียน และทำกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียน
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ญ.วิลาศินีย์ ผู้สมัครขอรับทุนนักเรียนระดับ ม.ปลาย มูลนิธิ EDF ปีการศึกษา 2564 จ.บุรีรัมย์
สวัสดีค่ะ ดิฉันชื่อเด็กหญิงวิลาศินีย์ กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ฐานะทางบ้านของดิฉันนั้นค่อนข้างยากลำบากเนื่องจากบิดาและมารดาแยกทางกันทำให้มารดาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเพียงคนเดียว สมาชิกในครอบครัวแมีทั้งหมด 5 คน ส่วนตัวดิฉันมีพี่น้องทั้งหมด 3 คน ฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวยากจน เนื่องจากว่ามารดาประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป มีรายได้เพียงสัปดาห์ละประมาณ 500 บาท
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | นักสู้บนสังเวียนแห่งโชคชะตา
สวัสดีครับ ผม ด.ช. จักรพงษ์ เอื้อมกิจการดี ชื่อเล่น มาร์ช อายุ 12 ปี กำลังเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเชียงสาศิลปสถาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ผมเป็นลูกคนเดียวของพ่อกับแม่ผม ซึ่งท่านทั้งสองได้หย่าร้างกันตั้งแต่ผมยังเล็ก พ่อได้แต่งงานใหม่และย้ายไปอยู่กับครอบครัวใหม่ ส่วนตัวผมอยู่กับปู่ และย่าตั้งแต่เด็ก
ผมรู้แค่ว่าพ่อย้ายไปทำงานรับจ้างอยู่กรุงเทพมหานคร ปู่ของผมมีโรคประจำตัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ไม่สามารถทำงานได้เหมือนคนทั่วไป ส่วนย่าเป็นโรคความดันต้องไปหาหมออยู่เป็นประจำ ย่าผมเป็นคนเดียวที่หารายได้มาจุนเจือครอบครัวด้วยการ งมหอยตามหนองน้ำใกล้บ้าน ซึ่งบางวันก็ได้มาก บางวันก็ได้น้อย มีบางวันไม่มีเพียงพอที่จะนำไปขาย
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ท้องทุ่งแห่งความหวัง
สวัสดีครับ ผมชื่อเด็กชายขวัญชัย คมแก้ว อายุ 12 ปี เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านดอนศาลา จังหวัดนครพนม ผมมีพี่น้อง 2 คน โดยผมเป้นลูกคนที่ 2 พ่อของผมเสียชีวิตกะทันหันตั้งแต่ผมยังอยู่ในท้องแม่ หลังจากนั้นแม่จึงได้แต่งงานใหม่กับพ่อเลี้ยงของผม
ครอบครัวของเราใช้ชีวิตอยู่อย่างยากลำบาก อาศัยอยู่ในบ้านที่สร้างจากเศษวัสดุเหลือใช้ เช่นไม้อัดเก่า สังกะสีเก่า ผ้าใบเก่า ซึ่งน้ำจะรั่วเวลาฝนตกทุกครั้ง ทำให้น้ำฝนเปียกเสื้อผ้า และข้าวของภายในบ้าน ในฤดูหนาวก็จะหนาวเย็น เพราะฝาบ้านไม่สามารถบังลมได้ดี และไม่มีเสื้อผ้าสำหรับกันหนาว และไม่มีไฟฟ้าใช้ครับ
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | รองเท้านักเรียนคู่ใหม่ของน้องแบงค์
สวัสดีครับ ผมชื่อ ด.ช.วัชรพล สมพร ชื่อเล่นแบงค์ ผมกําลังเรียนอยู่ชั้น ม.2 โรงเรียนบ้านโจดม่วง จังหวัดศรีสะเกษ ผมขอขอบคุณผู้บริจาคที่เมตตาให้ทุนการศึกษาแก่ผม นอกจากนี้ผมยังรู้สึกดีใจมากที่ได้รับของขวัญเป็นรองเท้านักเรียนคู่ใหม่ พร้อมถุงเท้าอีกจํา นวนหนึ่ง หลังจากที่ท่านได้เห็นรูปภาพที่ผมใส่รองเท้านักเรียนคู่เก่าซึ่งผมใช้มาตั้งแต่ตอนเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา
"ผมจะใช้รองเท้าคู่นี้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ทั้งใส่เรียน ใส่ทํากิจกรรมต่างๆ เล่นกีฬากับเพื่อนๆ และจะดูแลรักษาอย่างดีครับ"
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ทุนการศึกษาให้ทั้งโอกาส และชีวิตที่ดีแก่ผมในวันนี้
"แม้ผมจะได้รับทุนการศึกษาเพียงแค่ปีเดียวตอนเรียนอยู่ชั้น ม.5 แต่มีความหมายสำหรับผมมาก เป็นจุดพลิกผันในชีวิต ที่ทำให้ผมได้รับทั้งโอกาสทางการศึกษา และมีชีวิตที่ดี ช่วยให้ผมสามารถประคับประคองตนเองจนเรียนจบชั้น ม.ปลาย และได้มีโอกาสสอบเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยในวันนี้"
สวัสดีครับ ผมชื่อนายธณัชวัจน์ หวังหิรัญกุล อายุ 20 ปี ชื่อเล่น นิค ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ผมเคยได้รับทุนจากมูลนิธิ EDF ในปี 2560 ตอนเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน จังหวัดสุรินทร์ครับ
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ครูดาวเรือง สว่างแสง อดีตนักเรียนทุนการศึกษามูลนิธิ EDF ปี พ.ศ.2538-2540
ความขัดสนของครอบครัวได้สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กหญิงตัวเล็กๆ อดีตเด็กนักเรียนทุนมูลนิธิ EDF จาก อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร ว่าสักวันหนึ่งเธอจะต้องเติบโตขึ้นเป็นครู เพื่อจะได้กลับมาเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในระบบการศึกษาให้แก่เด็กๆ ยากไร้ที่อยู่ห่างไกลเหมือนเช่นเธอ ซึ่งในวันนี้ฝันของเธอก็ได้กลายเป็นจริงแล้ว
น.ส.ดาวเรือง สว่างแสง ตำแหน่งครูวิชาภาษาอังกฤษ โรงเรียนบ้านหนองชุม อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร อดีตนักเรียนทุนการศึกษามูลนิธิ EDF ปี พ.ศ.2538-2540 ได้เล่าให้เราฟังว่าหลังจากได้รับทุนจนจบชั้น ม.3 แล้ว ได้เรียนต่อชั้น ม.ปลาย ที่โรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ จ.ยโสธร โดยได้นำเงินทุนการศึกษาจากมูลนิธิ EDF ที่อดออมไว้มาเป็นค่าเทอม ซึ่งหากไม่มีทุนการศึกษาในตอนนั้นอาจไม่มีโอกาสได้เรียนต่อก็เป็นได้
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | มากกว่าคำขอบคุณสำหรับโอกาส และน้ำใจ ที่ช่วยต่อลมหายใจทางการศึกษาให้แก่พวกเขาอีกครั้ง
เรื่องราวของเด็กๆ 4 คนที่แม้ยังไม่รู้ว่าจะได้รับทุนการศึกษาเพื่อเรียนต่อในวันเปิดเทอมหรือไม่ แต่ก็ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตาและมุ่งมั่นตั้งใจทำงานช่วยเหลือครอบครัวในวันปิดเทอมที่มูลนิธิ EDF ได้เคยเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ มาก่อนหน้านี้ และได้มีผู้บริจาคที่ประสงค์ให้การอุปการทุนการศึกษาแก่พวกเขา ในวันเปิดเทอมที่ผ่านมา ซึ่งโอกาสและน้ำใจที่พวกเขาได้รับจากผู้อุปการะทุกท่าน ได้ช่วยต่อลมหายใจให้พวกเขาได้มีพื้นที่ยืนอยู่ในระบบการศึกษา สามารถเก็บเกี่ยวความรู้และเพิ่มพูนศักยภาพของตนเอง รวมถึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเติบโตและนำความรู้ที่ได้รับไปต่อเติมความฝันของตนเอง ให้เข้าใกล้ความจริงได้มากขึ้น มูลนิธิ EDF จึงอยากให้เด็กๆ ทั้ง 4 คน เป็นตัวแทนในการกล่าวคำขอบคุณแก่ผู้ร่วมบริจาคทุกท่านที่ได้ช่วยเปิดประตูแห่งโอกาสและเป็นกำลังใจให้แก่เด็กๆ ทั้ง 7,729 คน ที่ได้รับทุน ได้ก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ในชีวิต ไปสู่อนาคตที่เขาสามารถกำหนดได้ด้วยมือของพวกเองต่อไป
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | อย่าให้พวกเขาต้องต่อสู้กับโชคชะตาเพียงลำพัง เหลือเวลาอีกไม่ถึง 1 สัปดาห์ก่อนจะเปิดเทอมปี 2563 นี้
แต่ยังมีเด็กๆ ที่ขาดแคลนในความดูแลของมูลนิธิ EDF อีกกว่า 3,100 คนที่ยังไม่มีผู้อุปการทุนการศึกษา แต่พวกเขาเหล่านี้ก็ไม่ได้ยอมแพ้ต่อโชคชะตา หรือปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ วันนี้มูลนิธิ EDF จึงอยากนำเสนอการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ของเด็กๆ 4 คน ที่แม้ยังไม่รู้ว่าตนเองจะได้รับทุนการศึกษาเพื่อเรียนต่อในวันเปิดเทอมนี้หรือไม่ แต่พวกเขาก็ไม่เคยปล่อยผ่านโอกาสใดๆ ที่เข้ามาในชีวิต แต่กลับเลือกที่จะทำงานทุกอย่าง เท่าที่ความสามารถของเด็กตัวเล็กๆ คนหนึ่งจะทำได้ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัว และด้วยความหวังว่า จะเก็บหอมรอมริบได้มากพอที่จะต่ออนาคตทางการศึกษาของพวกเขาได้บ้างไม่มากก็น้อย
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ความฝัน...ที่ไม่อาจไปถึง
เมื่อครั้งคุณครูถามนักเรียนในห้องว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร ด.ช.นพรัตน์ หรือ น้องเวียร์ อายุ 12 ปี เด็กนักเรียนชั้น ป. 6 จากจังหวัดบุรีรัมย์ ไม่ลังเลที่จะตอบคุณครูเลยว่า “ผมอยากเป็นหมอครับ” ด้วยเพราะเขาคิดว่าเป็นอาชีพที่มั่นคง สามารถดูแลพ่อแม่ และน้องสาวฝาแฝดของเขาได้อย่างดี
พ่อและแม่ซึ่งทำอาชีพรับจ้างทั่วไป และเก็บของเก่าไปขาย จึงตั้งความหวังกับน้องเวียร์ไว้เป็นอย่างมาก ที่จะส่งให้เขาได้เรียนสูงๆ เพื่อที่จะจบออกมาได้มีอาชีพที่ดี ไม่ต้องมาลำบากเหมือนพ่อและแม่อย่างทุกวันนี้ จึงพยายามทำงานแทบทุกอย่าง เท่าที่มีคนจ้างให้พวกเขาทำ รวมถึงเก็บของเก่าในชุมชนไปขาย เพื่อนำเงินที่ได้มาจุนเจือครอบครัว และส่งเสียลูกๆ ให้ได้เรียนสูงๆ
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | วิกฤติครั้งนี้ อาจทำให้เขาต้องหยุดเรียน เพื่อครอบครัว
ภายในบ้านสังกะสีหลังเก่า พื้นที่เพียงไม่กี่ตารางเมตร เป็นที่อยู่อาศัยของ 4 แม่ลูก ที่ต้องอยู่กันอย่างอดมื้อกินมื้อ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งก็คือครอบครัวของ ด.ช.นัสรุดดีน หรือน้องแบ อายุ 12 ปี เด็กนักเรียนชั้น ป.6 จากจังหวัดปัตตานี
หลังจากพ่อเสียชีวิต ทำให้ขาดเสาหลักของครอบครัว แม่เป็นเพียงผู้เดียวที่ต้องรับภาระในการเลี้ยงดูลูกๆ ในวัยกำลังเรียนทั้ง 3 คน น้องแบจึงพยายามช่วยงานแม่ทุกอย่าง รวมถึงดูแลน้องๆ อีก 2 คน แม่มีอาชีพกรีดยาง และมีรายได้ประมาณ 4,000 บาท ต่อเดือน ซึ่งก็แทบจะไม่พอประทังชีวิตอยู่แล้ว |
อ่านต่อ |
|
|
|
| | อนาคตของเด็กคนนี้ อาจต้องจบลง เพราะ COVID-19
ด.ช.ธีรธรรม หรือ เอ็ม อายุ 12 ปี เด็กนักเรียนชั้น ป. 6 จากจังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจุบันอาศัยอยู่กับยายวัยกว่า 80 ปี และน้องชายวัย 8 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ป.2 ในบ้านไม้ 2 ชั้นบ้านไม้ 2 ชั้นใต้ถุนโล่ง ฝาไม้ที่ผุพัง มุงด้วยสังกะสี ยายอายุมากแล้วจึงไม่ได้ทำงาน โดยในแต่ละเดือนพ่อและแม่ของน้องเอ็มที่ทำงานรับจ้างขายของอยู่ที่กรุงเทพฯ จะส่งเงินมาให้เป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัวมากบ้างน้อยบ้างตามกำลัง
แต่เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2563 ที่ผ่านมา หลังจากร้านขายของที่พ่อแม่ทำงานอยู่ต้องปิดตัวลงจากผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้พ่อแม่ต้องว่างงาน และขาดรายได้ จึงไม่สามารถส่งเงินกลับมาให้น้องเอ็มกับยายได้เหมือนเคย ทำให้ยายหลานทั้ง 3 ชีวิต ต้องดำรงชีวิตด้วยเงินเบี้ยยังชีพคนชราของยายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | โตขึ้นผมอยากเป็นวิศวกร ด.ช.พลศิษฐ์ (น้ำ) ผู้สมัครขอรับทุนมูลนิธิEDF ปี 2563 จ.ขอนแก่น
แม่แยกทางกับพ่อตั้งแต่ผมกับน้องยังเด็ก หลังจากนั้นพวกเราก็อาศัยอยู่กับพ่อ และปู่กับย่า จนพ่อเสียชีวิต และจากพวกเราไปอีกคนเมื่อหลายปีก่อน ทำให้ตอนนี้เหลือเพียงปู่กับย่าที่คอยเลี้ยงดูส่งเสียพวกเรา โดยย่ามีอาชีพรับจ้างตัดอ้อย ส่วนปู่ ก็จะปลูกผัก จับปลาเพื่อน้ำมาปรุงอาหารในครอบครัว ย่ามีปัญหาข้อเข่าเสื่อมทำให้พักหลังๆทำงานหนักไม่ค่อยได้ ผมกับน้องจึงช่วยทำงานบ้าน หลายๆอย่างเท่าที่จะทำได้เพื่อแบ่งเบาภาระของปู่กับย่าให้ได้มากที่สุด
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | แม้ผมจะเรียนไม่เก่งแต่อยากขอโอกาส ด.ช.เกษมวัฒน์ (กาย) ม.1 ผู้สมัครขอรับทุนมูลนิธิEDF ปี 2563 จ.สุรินทร์
เมื่อพี่สาวไม่สามารถสานฝันในการเรียนต่อ และต้องหยุดเรียนเพื่อมาช่วยแม่ทำงานหารายได้อีกทางหนึ่ง ทำให้ด.ช.เกษมวัฒน์ หรือ น้องกาย วัย 13ปี เด็กนักเรียนชันม.1 จากจังหวัดสุรินทร์ รู้สึกไม่แน่ใจกับอนาคตทางการศึกษาของตนเองว่าจะไปต่อได้อีกไกลแค่ไหน
ปัจจุบันน้องกาย อาศัยอยู่กับแม่ และพี่สาว ซึ่งแม่ยังมีภาระต้องดูแลตากับยายซึ่งแก่ชรา โดยแม่มีอาชีพเป็นแม่ค้าเร่ขายไข่ปิ้ง ข้าวโพดปิ้ง และลูกชิ้นนึ่งตามตลาดนัดและ งานเทศกาลต่างๆ ซึ่งได้กำไรไม่มากนัก และมีบางครั้งที่ต้องขาดทุนเพราะขายไม่หมด
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | "ของขวัญของก้อง" ดช.ธนายุต เพ็งดี เด็กนักเรียนชั้นม.2 จังหวัดอำนาจเจริญ
หลังจากพ่อกับแม่แยกทางกัน แม่ต้องเดินทางไปทำงานรับจ้างก่อสร้างที่จังหวัดชลบุรี เพื่อหาเงินส่งเสียลูกๆในวัยกำลังเรียนทั้ง 5 คน โดยน้องก้อง หรือ ด.ช.ธนายุต เพ็งดี วัย 14 ปี เป็นลูกคนที่ 3 และกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในจังหวัดอำนาจเจริญ
ปัจจุบันเด็กๆทั้ง 5 คน อยู่ในความดูแลของตากับยายที่แก่ชรา ที่ตำบลป่ากอ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ โดยแม่เป็นเสาหลักของครอบครัวเพียงคนเดียว และจะส่งเงินมาให้ตากับยายทุกเดือน มากบ้างน้อยบ้างเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหลักๆในครอบครัว เช่นค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการเรียนของเด็กๆทั้ง 5 คน
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ช.รัตพล (ปิ๊ก) ผู้สมัครขอรับทุนมูลนิธิEDF ปีการศึกษา 2563 จ.สุรินทร์
น้องปิ๊ก หรือด.ช.รัตพล อายุ 13ปี เด็กนักเรียนชั้น ม.1 จากจังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันอาศัยอยู่กับ พ่อแม่ และตายาย น้องปิ๊กเป็นลูกคนเดียว แต่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์น้องอีก1คน พ่อกับแม่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป โดยทุกวันนี้ทำงานรับจ้างที่ร้านขายก๋วยเตี๋ยว
ก่อนหน้านี้พ่อเคยเร่ขายไส้กรอกปิ้งแต่ขาดทุนจึงต้องหยุดขายไป ส่วนแม่ตั้งครรภ์ได้7 เดือนแล้ว จึงต้องหยุดทำงาน ทำให้ครอบครัวขาดรายได้ไปส่วนหนึ่ง ขณะที่ตาและยายก็ทำงานหนักไม่ได้เพราะอายุมากแล้ว โดยเฉพาะยายซึ่งเจ็บป่วยหลายโรคและต้องไปหาหมออยู่เป็นประจำ
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ด.ช.กฤษณะ หรือน้องพู ผู้สมัครขอรับทุนมูลนิธิEDF ปีการศึกษา 2563 จ.นครราชสีมา
สวัสดีครับ ผมชื่อเด็กชายกฤษณะ ชื่อเล่น พู อายุ 13 ปี เรียนอยู่ชั้นม.1 ในจังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันผมอาศัยอยู่กับแม่และพี่ชายอีกหนึ่งคน ซึ่งกำลังเรียนอยู่ชั้น ม.3 พวกเราอาศัยอยู่ที่บ้านของตากับยาย เราต่อห้องเล็กๆออกมาจากบ้านของตา ส่วนพ่อของผมทิ้งไปตั้งแต่ผมยังเรียนอยู่ชั้นอนุบาล แม่ของผมจึงต้องหาเงินเลี้ยงลูกๆทั้ง2คนเพียงลำพัง
แม่ของผมทำงานเป็นแม่บ้านทำความสะอาด แม่จะได้รับค่าจ้างสองครั้งต่อเดือน ครั้งละ 2,000 บาท คือทุกวันที่16 และทุกวันสิ้นเดือนแม่ต้องทำงานทั้ง7 วัน ไม่มีวันหยุด ซึ่งเงินที่ได้ต้องนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว ค่าการศึกษาของผมกับพี่ ค่ารถที่แม่ขึ้นไปทำงานทุกวัน ทำให้เงินเดือนไม่พอใช้ แม่ต้องไปหยิบยืมจากเพื่อนร่วมงานและหนี้นอกระบบ
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ปรียาภรณ์ (การ์ตูน) เด็กนักเรียนทุนมูลนิธิEDF ชั้นม.1 ปี2562 จ.นครราชสีมา
หลังจากพ่อแม่แยกทางกัน พ่อแต่งงานมีครอบครัวใหม่และไม่ได้ติดต่อกลับมาอีกเลย ส่วนแม่ต้องเดินทางไปทำงานรับจ้างที่ต่างจังหวัด เพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว ทำให้ปรียาภรณ์ หรือน้องการ์ตูน เด็กหญิงวัย12ปี หนึ่งในเด็กนักเรียน ที่ได้รับทุนจากโครงการทุนการศึกษามูลนิธิEDF ประจำปีการศึกษา 2562 ปัจจุบันเรียนอยู่ชั้นม.1 รร.บ้านบะใหญ่ จ.นครราชสีมา และน้องสาว วัย 6ปี จึงต้องอาศัยอยู่กับยาย ที่สุขภาพไม่แข็งแรง และยายทวด วัย 78ปี |
อ่านต่อ |
|
|
|
| | จินตพร ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาชั้นม.1-3 ปีการศึกษา2562 จ.นครพนม
เพราะสงสารพ่อกับแม่ที่ต้องทำงานหนักและมีรายได้ไม่แน่นอน ตอนเช้าก่อนไปโรงเรียนจินตพร เด็กหญิงวัย 13 ปี ชั้นม.1 จากจ.นครพนม จะเก็บผักไปขายที่ตลาด และรับจ้างชำแหละปลาหลังเลิกเรียน เพื่อช่วยหารายได้อีกทางหนึ่ง
ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เธอยังออกไปหาเก็บหน่อไม้ และผักป่าทุกชนิดมาขาย และรับจ้างล้างจานตามร้านอาหารต่างๆอีกด้วย
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ณัฐริกา ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาชั้นม.1-3 ปีการศึกษา 2562 จ.นครราชสีมา เพราะความขัดสน ทำให้พ่อกับแม่ต้องเดินทางไปทำงานก่อสร้างไม่เป็นหลักแหล่ง ณัฐริกา เด็กหญิงวัย 12 ปี ชั้นม. 1 จ.นครราชสีมา จึงต้องอาศัยอยู่กับย่าในเพิงพักที่มีสภาพทรุดโทรม และอยู่ห่างไกลชุมชน
แม้ย่าจะอายุมากแล้ว แต่ยังคงต้องทำงานรับจ้าง ตามแต่จะมีคนจ้าง เพื่อหาเงินมาจุนเจือครอบครัว ณัฐริกาจึงตั้งใจเรียนหนังสือ และช่วยย่าทำงานบ้านทุกอย่างเพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระ
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | กุ้งนาง ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาชั้นม.1-3 ปีการศึกษา 2562 จ.สุรินทร์
กุ้งนาง เด็กหญิงวัย 13 ปี ปัจจุบันเรียนอยู่ชั้นม.1 ในจ.สุรินทร์ เธอมีความฝันอยากเป็นพยาบาลเพื่อจะได้ดูแลพ่อซึ่งพิการตาบอดทั้ง 2 ข้าง และแม่ที่ป่วยเป็นเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
แม้ว่าพ่อจะเป็นผู้พิการ และแม่จะสุขภาพไม่แข็งแรง แต่ทั้งคู่ก็ยังคงทำงานรับจ้างขนอิฐก่อสร้างเพื่อให้มีรายได้นำมาจุนเจือครอบครัว แต่งานรับจ้างก็ไม่ได้มีทุกวัน หากวันไหนไม่มีงาน พ่อก็จะไปหาปลาในหนองน้ำเพื่อนำมาทำอาหาร
|
อ่านต่อ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| | คำขอบคุณจากน้องอ้อ
สวัสดีค่ะ หนูชื่อด.ญ.กชกร พ่อแก้ว เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 โรงเรียนบ้านหนองผักแว่น จังหวัดนครพนม ครอบครัวหนูมีสมาชิกทั้งหมด 6 คน คือ พ่อแม่ หนู และน้องอีก3 คน ครอบครัวมีอาชีพทำนา รายได้จากการทำนาก็จะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายภายในบ้าน ซื้ออาหาร จ่ายค่าน้ำค่าไฟฟ้า และเป็นเงินที่ให้หนูและน้องอีก3คน นำไปโรงเรียนในแต่ละวัน และไว้ซื้ออุปกรณ์การเรียน มีหลายครั้งที่เงินไม่พอใช้จ่ายภายในครอบครัว ต้องยืมจากคนอื่น
บ้านที่หนูอาศัยอยู่เป็นบ้านชั้นเดียวมีใต้ถุน หลังคาสังกะสี เวลาฝนตกต้องคอยเอาภาชนะมารองน้ำฝนที่รั่วมาจากหลังคา เสาบ้านเริ่มผุพังไม่แข็งแรง ผนังห้องน้ำเป็นรอยแตก แต่เนื่องจากไม่มีเงินซ่อมแซม เลยต้องทนอาศัยไปตามสภาพ
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | คำขอบคุุณจากน้องแม็ก สวัสดีครับ ผมชื่อเด็กชายสุเนตร แก้วเวียน ชื่อเล่น แม็ก เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 โรงเรียนบ้านทับกี่ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ผมชอบเล่นกีฬาฟุตบอล หลังเลิกเรียนผมจะซ้อมฟุตบอลกับเพื่อนๆ ผมฝันอยากจะเป็นนักฟุตบอลทีมชาติในอนาคตครับ
พอกลับถึงบ้านผมจะช่วยพ่อแม่ทำงานบ้านทุกวันเพื่อแบ่งเบาภาระ เสาร์-อาทิตย์ผมจะไปช่วยงานพ่อแม่ปลูกข้าวโพด หักข้าวโพดเป็นรายได้เสริม ครอบครัวของผมค่อนข้างยากจน เงินที่ได้จากการทำไร่ในแต่ละปี ก็ไม่พอใช้จ่าย พ่อแม่จึงต้องยืมเงินจากเพื่อนบ้านมาใช้ก่อน บางวันก็ได้เงินมาโรงเรียนบางวันก็ไม่ได้
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ความจนแพ้ใจแกร่ง! ความจนแพ้ใจแกร่ง! เปิดใจเด็กหนุ่มสู้ชีวิตวัย 16 เรียนดี 4 ทุกวิชาตั้งแต่ ป.2 โดย ไทยรัฐออนไลน์ 19 มิ.ย. 2561
เด็ก ม. 4 หัวใจทระนง เรียนดีเกรด 4 ทุกวิชาตั้งแต่ ป.2 จนถึง ม. 1 แต่ฐานะยากจน หลังเลิกเรียน ต้องทำงานฟาร์มวัว สานหวด และรับจ้างอื่นๆ ช่วยพ่อแม่ หาเงินประทังชีวิตตนเองและจุนเจือครอบครัว...เรื่องราวของเด็กหนุ่มสู้ชีวิต ผู้ที่ไม่ยอมให้ “ความยากจน” มาบั่นทอนจิตใจ จนรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง หรือหมดพลังใจในการสร้างฝันเป็น “นักบัญชี” ของ นายปาณัสม์ คล้ายกับคำ หรือ น้องนัท อายุ 16 ปี นักเรียน โปรแกรม วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์. ม.4 ห้อง 1 โรงเรียนหนองวัวซอพิทยาคม จังหวัดอุดรธานีนี้ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ได้รับการเปิดเผยจากนางจันทร์แดง สิทธิบูรณ์ ครูชำนาญการพิเศษ งานแนะแนวการศึกษา และเป็นผู้ดูแลทุนการศึกษาของมูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา (มูลนิธิ EDF : Education for Development Foundation) ที่น้องนัทได้รับทุนการศึกษาปีละ 5 พันบาท
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | หนูจะสู้ด้วยหัวใจและสองมือ
แม้ความฝันของหนูอาจยากที่จะเป็นจริง แต่หัวใจและสองมือของหนูไม่เคยหยุดนิ่ง โดยมีอุปสรรคเป็นแรงบันดาลใจให้ตั้งใจเรียน เพื่ออนาคต และครอบครัวที่หนูรักค่ะ
ด.ญ.วิษณี อายุ 12 ปี ชั้นป.6
ต.คำพี้ อ.นาแก จ.นครพนม
ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษามูลนิธิEDF
ปีการศึกษา 2561
สถานะ: รอทุนการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
(ม.1-3)
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | แม้ตัวจะเล็กแต่ความตั้งใจยิ่งใหญ่
หนูอยากเรียนต่อสายคหกรรมเพราะอยากเป็นเชฟอาหารไทย ครูสอนให้หนูทำอาหารจากสิ่งที่เราปลูกเพื่อช่วยลดภาระของครอบครัวค่ะ
ด.ญ. สุภาวิตา อายุ 12 ปี ชั้นป.6
ต.หนองย่างชิ้น อ.เรณูนคร จ.นครพนม
ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษามูลนิธิEDF
ปีการศึกษา 2561สถานะ รอทุนการศึกษาชั้นม.ต้น
(ม.1-3)
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ความฝันที่ยังรอการสนับสนุน
หนูฝันอยากเป็นพยาบาล และรู้ดีว่าต้องเรียนอย่างหนัก แต่หากได้รับการสนับสนุนหนูก็พร้อมที่จะมุ่งมั่นตั้งใจเรียนเพื่อไปถึงความฝันที่ตั้งใจไว้ค่ะ
ด.ญ. สุภัตรา อายุ 12 ปี ชั้นป.6
ต.บ้านผึ้ง อ.เมืองนครพนม จ.นครพนม
ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษามูลนิธิEDF
ปีการศึกษา 2561
สถานะ: รอทุนการศึกษาชั้นม.ต้น
(ม.1-3)
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ของขวัญปีใหม่ของดาว หากพูดถึงระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร คนส่วนใหญ่อาจมองว่าเป็นระยะทางที่ไม่ไกลนักในการเดินเท้าของคนทั่วไป แต่สำหรับเด็กหญิงตัวเล็กๆที่ต้องเดินไป-กลับระหว่างบ้านและโรงเรียนเป็นประจำทุกวัน ผ่านคันนาดิน ที่รอบข้างไม่มีบ้านเรือนผู้คนอยู่อาศัย และไม่มีแม้แต่เสาไฟฟ้าส่องสว่างข้างทางแล้ว อาจดูเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก และอันตราย
“บ้านของหนูเป็นเพิงอยู่กลางทุ่งนา ทุกๆวันหนูจะเดินเท้าผ่านคันนาดินลูกรังไปโรงเรียนระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ถ้าในช่วงฤดูฝน หรือวันที่ฝนตก ก็จะลำบากหน่อยค่ะ เพราะโคลนจะกระเด็นเลอะรองเท้า และชุดนักเรียน เวลาเดินจะต้องถือไม้ไปด้วยหนึ่งอัน ไว้ป้องกันสัตว์มีพิษต่างๆ เช่นงู และตะขาบ” น้องดาว หรือ ด.ญ.แสงดาว บุญศรี เด็กนักเรียนทุนมูลนิธิEDF ชั้นม.2 โรงเรียนบ้านโนนดู่ จ.อำนาจเจริญ เล่าให้เราฟังถึงความยากลำบากในการเดินทางไปโรงเรียนของเธอ
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | พรที่เป็นจริงของ "จา"
“หากขอพรได้หนึ่งข้อ หนูอยากได้เพียงโอกาสในการเรียนหนังสือ ได้มีความรู้ สามารถอ่าน และเขียนหนังสือได้คล่อง นำความรู้ไปประกอบอาชีพ และเลี้ยงดูยายได้ค่ะ” เสียงเล็กๆของเด็กหญิงคนหนึ่งลอดออกมาจากโทรศํพท์ ในระหว่าง เจ้าหน้าที่มูลนิธิ EDF กำลังสัมภาษณ์ผู้สมัครขอรับทุนการศึกษาประจำปีการศึกษา 2560
หากย้อนกลับไปในช่วงต้นปีที่ผ่านมา อนาคตทางการศึกษาของ “จา” หรือ ศิริกัญญา บานประโคน อายุ 14 ปี เด็กนักเรียนชั้นป. 6 จากโรงเรียนบ้านลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เกือบต้องจบลงด้วยการลาออกจากโรงเรียนไปทำงานรับจ้างเพื่อเลี้ยงดูยายที่อายุมาก และสุขภาพไม่แข็งแรง แต่หลังจากคุณครูประจำชั้นได้มีโอกาสไปเยี่ยมที่บ้าน พบปะพูดคุยกับคุณยาย และรับทราบถึงปัญหา จึงได้ตัดสินใจส่งข้อมูลของเธอเพื่อสมัครขอรับทุนการศึกษาจากมูลนิธิ EDF เพื่อเรียนต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในปีการศึกษา 2560 นี้
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ครูเตือนใจ เพ็ญสวัสดิ์ อดีตเด็กนักเรียนทุนมูลนิธิEDF ปีแรก (2531-2533)
ครูเตือนใจ เพ็ญสวัสดิ์ อดีตนักเรียนทุนรุ่นแรกของมูลนิธิEDF ม.4-6 (2531-2533) จังหวัดอุดรธานี
การศึกษา: ปริญญาตรี เอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
หน้าที่การงานในปัจจุบัน: บรรจุเป็นครู โรงเรียนเพ็ญพิทยาคม อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
เตือนใจ เพ็ญสวัสดิ์ เป็นหนึ่งในนักเรียนทุนที่ได้รับทุนการศึกษาจากมูลนิธิEDF รุ่นแรก จำนวน 41 คน ในปีพ.ศ.2531 จังหวัดอุดรธานี โดยเธอได้รับทุนศึกษาเพื่อเรียนต่อระดับชั้นม.4-6 โรงเรียนเพ็ญพิทยาคม อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ในระหว่างปี 2531-2533
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | คำขอบคุณจากแพท ประมาณเดือนมกราคม 2559 มูลนิธิEDF ได้เคยนำเสนอเรื่องราว “เธอขอเพียงโอกาส” ของ “แพท” หรือเด็กหญิงพัชราภรณ์ พาครุฑ เด็กหญิงวัย 11 ปี นักเรียนชั้นป.6 โรงเรียนบ้านถ้ำพริก อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีชีวิตที่ยากลำบาก อาศัยอยู่กับ แม่ พ่อเลี้ยง และน้องสาววัย 8ปี ในเพิงมุงหญ้าคาที่ปลูกอยู่ในที่ดินของวัดซึ่งตั้งอยู่บนเขา ไม่มีแม้แต่ไฟฟ้า หรือสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ
โดยพ่อเลี้ยงของเธอมีอาชีพเป็นช่างไม้ และทำงานรับจ้างทั่วไป มีรายได้ไม่แน่นอน ส่วนแม่ทำงานเป็นแม่บ้านทำความสะอาดภายในวัด เพื่อแลกกับอาหารเพื่อประทังชีวิตในแต่ละวัน
>>>อ่านเรื่องของแพทย้อนหลัง |
อ่านต่อ |
|
|
|
| | "วันเปิดเทอมของวุ้น"
ช่วงปลายปี 2558 ที่ผ่านมา มูลนิธิ EDF ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของ “วุ้น” หรือ เด็กชายกิตินันท์ ศิริสื่อสุวรรณ เด็กนักเรียนวัย 12 ปีจากจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งกำพร้าทั้งพ่อ และแม่ ทำให้ต้องอาศัยอยู่กับยายซึ่งมีฐานะยากจน ซึ่งในขณะนั้นเขายังเรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และได้ตัดสินใจสมัครขอรับทุนการศึกษาจากมูลนิธิ EDF เพื่อเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (อ่านเรื่องราวของ"วุ้น"ในปี 2558)
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | เธอขอเพียง "โอกาส"
แม้จะไม่เคยมีโอกาสเห็นหน้าพ่อแท้ๆของตนเอง แต่ “น้องแพท” หรือ เด็กหญิงพัชราภรณ์ พาครุฑ อายุ 11 ปี เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านถ้ำพริก อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ก็ไม่เคยเก็บเอามาเป็นปมด้อย แต่กลับทำให้เธอขยันหมั่นเพียร ตั้งใจเรียน จนสอบได้ที่ 1 และได้เกรดเฉลี่ย 4.00 ทุกปีการศึกษา ตั้งแต่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6
น้องแพท เล่าถึงพ่อให้เราฟังว่า “พ่อแท้ๆของหนูเลิกกับแม่ตั้งแต่หนูยังอยู่ในท้องแม่ หนูไม่เคยเจอเขาเลย หนูไม่มีชื่อพ่อในทะเบียนบ้าน แต่แม่บอกว่ามันเป็นเพียงแค่ตัวหนังสือ หนูไม่คิดว่าเป็นปมด้อย เพราะปัจจุบันหนูอยู่กับพ่อ(เลี้ยง) แม่ และน้อง อบอุ่นมากค่ะ เขาไม่เคยคิดว่าหนูเป็นลูกเลี้ยง เขาเลี้ยงหนูมาตั้งแต่หนูอายุได้ 1 ปี 10 เดือนแล้วค่ะ”
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | "บททดสอบของชีวิต" ที่อาจเดิมพันด้วย "อนาคต" ของเขา ด้วยวัยเพียง 12 ปี แต่ “วุ้น” หรือ "ด.ช.กิตินันท์" เด็กนักเรียนชั้น ป.6 จาก จังหวัดบุรีรัมย์ กลับต้องพบกับ “บททดสอบของชีวิต” ที่ยากเกินกว่าเด็กตัวเล็กๆ คนหนึ่งจะสามารถผ่านไปได้เพียงลำพัง
พ่อเสียชีวิตตั้งแต่วุ้น อายุ 1 ปี หลัง จากนั้นแม่จึงตัดสินใจแต่งงานใหม่ มีลูกอีก 1 คน และย้ายไปอยู่กับครอบครัวใหม่ที่กรุงเทพฯ ในขณะที่พี่ชาย และพี่สาวของเขา ต่างก็แยกย้ายไปทำงานโรงงานที่ต่างจังหวัด หลังจากเรียนจบชั้น ม.3 และแต่งงานมีครอบครัวของตนเอง หลังจากนั้นวุ้นก็ไม่มีโอกาสได้พบหน้าแม่ และพี่ๆ ทั้งสองคนอีกเลย
ครอบครัวที่เคยอยู่กันพร้อมหน้า วันนี้เหลือเพียงแต่ วุ้น กับยาย วัย 58 ปี อาศัยอยู่ในบ้านไม้ชั้นเดียวยกพื้นที่แทบจะว่างเปล่า มีเพียงเสียงจากวิทยุเครื่องเก่าของยายที่พอจะทำให้บ้านไม่เงียบเหงาจนเกินไป |
อ่านต่อ |
|
|
|
| | วันนี้ที่ดีกว่าของ “แป้ง”
“แป้ง” หรือ ด.ญ.ปาริชาติ บารัน อายุ 14 ปี เป็นหนึ่งในเด็กนักเรียนทุน มูลนิธิEDF ที่ได้รับทุนการศึกษาต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ในปีการศึกษา 2558 นี้ ในปัจจุบัน แป้ง เรียนอยู่ชั้นม.2 โรงเรียน บ้านแพงพวย (สังฆคุรุราษฎร์) อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
หลังจาก พ่อ แม่ และพี่สาว เดินทางไปทำงานรับจ้างที่จังหวัดระยอง เมื่อหลายปีก่อน แป้ง ก็ต้องอาศัยอยู่กับตา ยาย และน้องชายอีก 1 คนซึ่งกำลังเรียนอยู่ชั้นป.1 ในโรงเรียนเดียวกัน ทั้ง 4 คนอาศัยอยู่ในบ้านชั้นเดียวก่ออิฐบล็อคไม่ฉาบปูน ที่สร้างขึ้นแบบง่ายๆ หลังคามุงด้วยสังกะสี
แม้ทางบ้านจะมีฐานะยากจน แต่ตากับยายก็ได้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต ทำให้อย่างน้อยทุกคนในบ้านก็จะมีอาหารรับประทาน และพอมีผลผลิตเหลือไว้ขาย เพื่อเป็นรายได้ไว้ใช้จ่ายภายในครอบครัวอีกทางหนึ่ง
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | "ความฝัน" ที่เข้าใกล้ความเป็นจริง
เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา ทีมงานมูลนิธิ EDF ได้มีโอกาสลงพื้นที่ในจังหวัดต่างๆ เพื่อติดตามชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กนักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษา และได้มีโอกาสพบกับ “ฮู้” หรือ ด.ช. ธนากร นราพงษ์ อายุ 13 ปี และ “เคอาร์” หรือ ด.ช.ศักรินทร์ สมใจ อายุ 13 ปี ซึ่งทั้งสองคนเป็นเด็กนักเรียนทุนใหม่ที่ได้รับทุนการศึกษาเป็นปีแรก และเป็นหนึ่งในเด็กนักเรียนทุนจากจำนวน 7,219 คน ที่ได้รับทุนการศึกษาในรอบเทอม 1/2558 ที่ผ่านมา โดยในปัจจุบันทั้ง "ฮู้" และ "เคอาร์" กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.1 โรงเรียนบ้านลำนางรอง ต.ลำนางรอง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | “ความฝันที่รอการสานต่อ”
"ความยากจน" ไม่เคยทำให้ เด็กชายปาณัสม์ คล้ายกับคำ หรือ น้องนัท อายุ 12 ปี เด็กนักเรียนชั้นป.6 โรงเรียนบ้านหมากหญ้า จ.อุดรธานี รู้สึกท้อแท้ในโชคชะตา แต่เขากลับรู้สึกว่า ต้องพยายามมากกว่าคนอื่นๆ น้องนัทจึงขยันและตั้งใจเรียน จนสอบได้เกรด 4 ในทุกวิชา นอกจากนี้ยังใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียน และในวันหยุดเพื่อ ช่วยพ่อแม่สานหวดนึ่งข้าวเหนียว เพื่อหารายได้เสริมให้แก่ครอบครัวอีกทางหนึ่ง
ปัจจุบัน น้องนัทอาศัยอยู่กับ พ่อ แม่ และพี่ชาย ในบบ้านไม้หลังเก่า ใต้ถุนสูง ครอบครัวมีฐานะยากจน มีเพียงมอเตอร์ไซค์เก่าๆ ที่พ่อกับแม่ใช้ในการเดินทางไปทำงาน รับจ้างรายวัน ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ตัดอ้อย ตัดมันสำปะหลัง เป็นต้น ส่วนพี่ชายของน้องนัทต้องลาออกจากโรงเรียน เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว และช่วยพ่อแม่ทำงานรับจ้างอีกแรงหนึ่ง
แต่งานรับจ้างก็ไม่แน่นอน หากวันไหนไม่มีงาน พ่อแม่และพี่ชาย ก็จะนำไม้ไผ่มาลอกเป็นเส้น เพื่อสานเป็นหวดนึ่งข้าวเหนียวเพื่อส่งขายให้แม่ค้าในตลาด
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | “ความหวังสุดท้าย”
แม้ว่า เด็กหญิงสุพัตรา สมบูรณ์ อายุ 12 ปี เด็กนักเรียนชั้นป.6 โรงเรียนบ้านศรีถาวร จังหวัดบุรีรัมย์ จะมีพี่น้องทั้งหมด 7 คน โดยตัวเธอเองเป็นคนสุดท้อง แต่เพราะความขัดสนของครอบครัว ทำให้พี่ๆของเธอทั้ง 6 คน ต่างแยกย้ายกันไปคนละทิศ คนละทาง
พี่ๆผู้ชายก็ไปทำงานรับจ้างที่กรุงเทพฯหรือต่างจังหวัด ส่วนพี่สาวก็แต่งงานและย้ายไปอยู่กับครอบครัวใหม่ บางคนไม่เคยติดต่อกลับมาอีกเลย ในขณะที่เมื่อสองปีที่แล้วพี่ชายคนที่ 6 ที่อายุไล่เลี่ยกับเธอ ได้ตัดสินใจบวชเป็นสามเณร หลังจากเรียนจบชั้นป.6 เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว
ปัจจุบัน สุพัตรา อาศัยอยู่กับ พ่อ และแม่ เพียง 3 คนในเพิงสังกะสีเก่าๆ ที่สร้างขึ้นอย่างง่ายๆจากเศษแผ่นไม้อัด และแผ่นสังกะสีทีมีคนนำมาทิ้งไว้ ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำประปา และไม่มีแม้แต่สิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ ส่วนพ่อและแม่ทำงานหาเช้ากินค่ำ เช่นรับจ้างเก็บมะพร้าว ถางหญ้า เกี่ยวข้าว แต่งานรับจ้างก็ไม่ได้มีทุกวัน โดยสุพัตราเล่าถึงความยากลำบากของครอบครัวให้ฟังว่า
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | "มัคคุเทศก์น้อย"
ป่าน หรือ ด.ญ. รัตติกาล ภูแก้ว อายุ 13 ปี เด็กนักเรียนชั้นม.1 โรงเรียนบ้านไร่ทองคูณ (คุรุราษฎร์สามัคคี) จ.นครราชสีมา เป็นหนึ่งในเด็กนักเรียน 7,259 คน ที่ได้รับทุนการศึกษาจากมูลนิธิ EDF ในปีการศึกษา 2557 นี้
ปัจจุบันป่านอาศัยอยู่กับแม่ และน้อง ในบ้านไม้หลังเก่า ที่แทบไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ ส่วนพ่อแยกทางกับแม่เมื่อหลายปีก่อน และไม่เคยติดต่อกลับมาอีกเลย ทำให้แม่เป็นเสาหลักเพียงคนเดียวของครอบครัว โดยแม่มีออาชีพรับจ้าง ดำนา และปลูกข้าวได้ค่าจ้างวันละประมาณ 200 บาท
แม้จะไม่มีพ่อ แต่ป่านก็ไม่เคยเก็บเอามาเป็นปมด้อย เพราะเธอรู้ดีว่าตอนนี้หน้าที่ที่สำคัญ ที่สุดคือต้องขยันและตั้งใจเรียนให้ดีที่สุด ทำให้เธอมีผลการเรียนดีมาโดยตลอด นอกจากนี้ ป่านยังเป็นเด็กที่มีนิสัยร่าเริงแจ่มใส เป็นที่รักของเพื่อนๆ และชอบเรียนวิชาภาษาอังกฤษ |
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ”วันนี้ในความทรงจำ”
หลังจากที่มูลนิธิEDF ได้นำเสนอเรื่องราว “โอกาสเปลี่ยนชีวิต” ของ นิกร สุวลักษณ์ อดีตเด็กนักเรียนทุนมูลนิธิ EDF ระดับชั้น ม.1- ม.6 (พ.ศ.2547-2552) จากจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อช่วงเดือนกันยายน 2557 ที่ผ่านมา (อ่านเรื่องของนิกรย้อนหลังได้ที่นี่) มูลนิธิ EDF ก็ได้เป็นสื่อกลางในการติดต่อกับผู้บริจาคทุนของเขาซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่น จนทั้งสองได้มีโอกาสพบหน้ากันอีกครั้ง หลังจากครั้งสุดท้ายที่ได้เคยพบกันตอนที่ผู้บริจาคเดินทางไปเยี่ยมครอบครัวของนิกร ตอนที่เขาเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเมื่อเกือบสิบปีก่อน
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | นิกร สุวลักษณ์ อดีตเด็กนักเรียนทุนEDF พ.ศ.2547-2552
คุณนิกร สุวลักษณ์ อดีตเด็กนักเรียนทุน EDF ชั้นม.1-6 (พ.ศ.2547-2549) จังหวัดร้อยเอ็ด
การศึกษา : ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
หน้าที่การงานในปัจจุบัน : ผู้ช่วยแพทย์ ประจำสถานพยาบาลแห่งหนึ่งใน จังหวัดอุดรธานี
เพราะความยากจน ทำให้วัยเด็กของ นิกร สุวลักษณ์ หรือ กร มีชีวิตที่ค่อนข้างยากลำบาก ต้องทำงานทุกอย่างเท่าที่จะทำได้เพือช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัว โดยต้องตื่นแต่เช้ามืดทุกวัน เพื่อช่วยแม่เตรียมอาหารไปขายที่โรงเรียน นอกจากนี้ในช่วงพักกลางวัน กรยังช่วยแม่ขายอาหาร และล้างจาน และยังหารายได้พิเศษหลังเลิกเรียนด้วยการขายไก่ย่าง และลูกชิ้นนึ่งในหมู่บ้าน กว่าจะได้กลับบ้านเพื่ออ่านหนังสือ และทำการบ้าน ก็พลบค่ำ
แม้ชีวิตจะต้องเผชิญกับความเหนื่อยยากลำบากเพียงใด แต่กรก็ไม่เคยทิ้งการเรียน และตั้งใจเรียนมาโดยตลอด เพราะพ่อกับแม่บอกกับเขาเสมอว่า อยากให้เขาได้เรียนสูงๆ อนาคตจะได้ไม่ลำบาก
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ความฝันที่รอการเติมเต็มของ "แคร์"
ด้วยความที่พ่อต้องทำงานหนักในโรงงานเหล็ก และกลับบ้านดึกทุกวัน ทำให้ ด.ญ.ศิริวรรณ ไชยหมื่น หรือ "แคร์" อายุ 14 ปี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากจังหวัดระยอง และน้องชาย อายุ 9 ปี แทบไม่มีโอกาสได้เจอหน้าพ่อเหมือนกับเด็กคนอื่นๆ พ่อของเธอป่วยเป็นโรคต้อที่ตา ไปหาหมอมาแล้วหลายครั้งก็ยังไม่หาย แต่พ่อก็ยังต้องฝืนทำงานหนัก เพื่อแลกกับค่าแรง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว และดูแลลูกๆ
“หนุสงสารพ่อที่ต้องทำงานเหนื่อยทุกวัน เ หลายครั้งที่พ่อไม่รู้จะทำอย่างไรเพราะพ่อไม่มีเงิน พ่อก็เลยต้องไปยืมเงินคนอื่น เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายภายในบ้านรวมทั้งค่าขนมของหนูและน้องชาย ซึ่งบางวันก็ได้ บางวันก็ไม่ได้นำมาโรงเรียน”
พี่ชายของเธอ ซึ่งปัจจุบันอายุ 19 ปี ก็ต้องลาออกจากโรงเรียนกลางคันเมื่อหลายปีก่อน เพื่อมาทำงานรับจ้างทั่วไป ช่วยพ่อหาเงินอีกทางหนึ่ง แต่รายได้ก็ดูเหมือนจะไม่พอกับค่าใช้จ่ายและหนี้สินที่มีอยู่
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ความฝันที่รอการเติมเต็มของ "น้อย"
หลังจากพ่อแม่แยกทางกัน น้อย หรือ ด.ญ.พรชนก ปัณกา อายุ 14 ปี เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จาก จังหวัดระยอง ต้องอาศัยอยู่กับแม่ซึ่งมีอาชีพเก็บขยะ เพื่อนำมาคัดแยกขาย โดยทุกวันหลังเลิกเรียนและในวันหยุดเธอจะไปช่วยแม่อยู่เสมอ
จนเมื่อไม่นานมานี้ แม่ตัดสินใจแต่งงานใหม่ และมีลูกกับครอบครัวใหม่อีกหนึ่งคน และได้ย้ายตามครอบครัวใหม่เพื่อไปทำงานที่ต่างจังหวัด แม่จึงนำน้อย มาฝากให้ตากับยายเลี้ยง โดยตากับยายมีรายได้เพียงเล็กน้อยจากการขายข้าวแกง และขนม ตามหน้าโรงงาน ซึ่งในทุกวัน น้อยจะช่วยยายเตรียมของขายจนดึก และตื่นตั้งแต่ตี 3 เพื่อห่อข้าวต้มมัดให้ยาย นำไปขายในตอนเช้า
น้อยบอกกับเราว่า “ในวันหยุดหนูจะไปช่วยยายขายของ ตายายก็แก่มากแล้ว หนูสงสารยาย เพราะยายหนูไม่มีเวลาพักผ่อน แต่ถ้าไม่หาของไปขายก็ไม่รู้จะเอาเงินจากที่ไหนมาเลี้ยงครอบครัว”
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ฐิติชญาณ์ วงศ์ทั้งน้อย อดีตนักเรียนทุนEDF พ.ศ.2535-2540
ฐิติชญาณ์ วงศ์ทั้งน้อย อดีตนักเรียนทุนEDF ม.1-6 (พ.ศ.2535-2540)
การศึกษา: คณะศึกษาศาสตร์ เอกคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)
หน้าที่การงานในปัจจุบัน: คุณครูคณิตศาสตร์ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) จังหวัดกรุงเทพฯ
เมื่อเร็วๆนี้ มูลนิธิ EDF ได้รับการติดต่อจากอาจารย์ท่านหนึ่งซึ่งต้องการร่วมเป็นอาสาสมัครของมูลนิธิ EDF เธอชื่อ ฐิติชญาณ์ วงศ์ทั้งน้อย หรือ อาจารย์น้ำแร่ ซึ่งปัจจุบันเป็นครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กรุงเทพฯ แต่สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งก็คือ การที่ได้รู้ว่าเธอเป็นหนึ่งในเด็กนักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาจากมูลนิธิ EDF เพื่อเรียนต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ในระหว่างปี พ.ศ.2535-2540
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | "การศึกษา" ทำให้เราสามารถเลือกทางเดินชีวิตได้ด้วยตนเอง
ความขัดสนของครอบครัว ทำให้แม่ตัดสินใจส่ง "น้องนุ้ย" หรือน.ส.บุษราคัม โคตะมะ มาอยู่โรงเรียนประจำ-กินนอน ที่ร.ร. ราชประชานุเคราะห์50 จ.ขอนแก่น ตั้งแต่เด็กๆ
แม้จะเป็นเด็กด้อยโอกาสและไม่ได้รับความอบอุ่นจากาครอบครัวเหมือนเด็กคนอื่นๆ แต่น้องนุ้ยจะเตือนสติตัวเองเสมอว่า "คนเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะทำดีและเป็นคนดีได้" เธอจึงเลือกที่จะตั้งใจเรียนและมีผลการเรียนอยู่ในลำดับต้นๆของห้องอยู่เสมอ นอกจากนี้เธอยังเป็นเด็กกิจกรรม และเป็นที่รักของเพื่อนๆ จนได้รับเลือกเป็นกรรมการนักเรียนอีกด้วย
น้องนุ้ยเชื่อมั่นว่า "การศึกษาทำให้คนเราสามารถเลือกทางเดินชีวิต ได้ด้วยตนเอง" เธอจึงสมัครขอรับทุนการศึกษามูลนิธิ EDF เพื่อเรียนต่อชั้นม.ปลายตั้งแต่ปี2555-ปัจจุบัน หลังจบม.6 น้องนุ้ยยังมีแผนที่จะหางานทำเพื่อส่งตัวเองเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ด้วยความหวังที่จะสามารถกำหนด ทางเดินชีวิตของตัวเธอเอง และครอบครัวให้ก้าวพ้นวงจรแห่งความยากไร้ได้อย่างยั่งยืนตลอดไป
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | จิตรกรน้อยบนรถเข็น
การที่ต้องใช้ชีวิตอยู่บนรถเข็นตั้งแต่จำความได้ ไม่เคยทำให้ น้องปิ่น หรือเด็กหญิง จุฑามณี วรสารศิริ เด็กนักเรียนชั้น ป.4 โรงเรียน บ้านบุ (ประชารัฐพัฒนา) จังหวัดนครราชสีมา รู้สึกย่อท้อกับการไปเรียนหนังสือที่โรงเรียน น้องปิ่นจะรู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้ไปโรงเรียน ได้เจอเพื่อนๆและคุณครู นอกจากนี้เธอยังมีความสามารถทางด้านศิลปะจนเคยชนะการประกวดวาดภาพในระดับจังหวัดมาแล้ว น้องปิ่นมีความฝันอยากเป็นจิตรกร และยังเป็นหนึ่งในนักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาเด็กนักเรียนพิการเรียนร่วมในโรงเรียนปกติของมูลนิธิ EDF
น้องปิ่นป่วยเป็นโปลิโอตั้งแต่กำเนิดทำให้แขนขาอ่อนแรง ปัจจุบันเธออาศัยอยู่กับพ่อ แม่ และพี่สาวอีกหนึ่งคน ซึ่งเรียนอยู่ชั้นม.1 ในโรงเรียนเดียวกัน ครอบครัวมีฐานะยากจน อาศัยอยู่ในบ้านเช่า ซึ่งเป็นบ้านปูนเปลือยชั้นเดียว รายได้ทั้งหมดของครอบครัวมาจากพ่อ ที่ทำงานรับจ้างทั่วไป ส่วนแม่ไม่ได้ทำงานเนื่องจาก ต้องคอยดูแลน้องปิ่น
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | คำขอบคุณจากเด็กหญิงเก็บของป่า
เดือนตุลาคมนี้ EDF ขอนำเสนอเรื่องราวของ “น้องนุ๊ก” หรือ เด็กหญิงเบญจพร แหล้ป้อง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาดี อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น น้องนุ๊กเป็นหนึ่งในเด็กนักเรียนจำนวน 7,639 คน ที่ได้รับทุนการศึกษา EDF ในปีการศึกษา 2556 นี้
ปัจจุบันน้องนุ๊กอายุ 14 ปี อาศัยอยู่กับแม่ และหลานๆในวัย 4-6 ขวบอีก 3คน ซึ่งเป็นลูกๆที่พี่ชายทั้ง 2 ของเธอนำมาทิ้งไว้ให้แม่เลี้ยงตั้งแต่ยังแบเบาะ และไม่เคยติดต่อกลับมาอีกเลย ส่วนพ่อไปทำงานก่อสร้างอยู่ที่จังหวัดระยองได้หลายปีแล้ว นานๆที่จะส่งเงินมาให้ครั้งละ 1000 บาท ส่วนแม่ก็ทำอาชีพรับจ้างทั่วไป เช่นขุดมัน สำปะหลัง และตัดอ้อย ได้รายได้ครั้งละ 100-150 บาทซึ่งก็แทบไม่พอกับค่าใช้จ่ายในครอบครัว และเลี้ยงดูหลานเล็กๆทั้ง 3 คน
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | จากผู้สูญเสียสู่การเป็นผู้ให้
ในวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา EDF ได้มีโอกาสสัมภาษณ์และพูดคุยกับ น้องฟาดีละห์ แซ่เหง่า อายุ 15 ปี นักเรียนทุน EDF ชั้น ม.4 จากโรงเรียนธรรมวิทยาศึกษา ต.ปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา พร้อมด้วยคุณแม่ นางยินดี แซ่เหง่า อายุ 46 ปี ซึ่งเดินทางมาที่กรุงเทพฯเพื่อเป็นตัวแทนเด็กนักเรียนทุนที่สูญเสียจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรับมอบทุนการศึกษาประจำปีการศึกษา 2556 นี้ค่ะ
คุณพ่อของน้องฟาดีละห์ ถูกผู้ก่อความไม่สงบลอบยิงเสียชีวิตในวันที่ 25 มิถุนายน 2548 ขณะเดินทางไปทำงาน โดยขณะนั้นน้องฟาดิละห์เรียนอยู่ชั้นป.1 ทำให้นางยินดี แซ่เหง่า ผู้เป็นแม่ต้องรับผิดชอบในการเลี้ยงดูลูกๆทั้ง 5 คนเพียงผู้เดียว โดยนางยินดีเล่าให้กับเราฟังว่า
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ชีวิตต้องสู้ของน้องตาล
น้องตาล หรือ เด็กหญิง ธัญญา นิตยวัน อายุ 13 ปี เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเหล่าน้อย จังหวัดยโสธร ปัจจุบันอาศัยอยู่กับนางเฟื่อง ใจใส ผู้เป็นยายอายุ 85 ปี ในบ้านเพิงไม้เก่าๆ ชั้นเดียวมุงด้วยสังกะสี และมีเพียงห้องนอนเล็กๆ เพียง 1 ห้อง
พ่อแยกทางกับแม่ตั้งแต่น้องตาลยังแบเบาะ และได้นำเธอมาทิ้งให้ยายเลี้ยงดูและไม่เคยกลับมาอีกเลย แต่ก่อนยายเคยมีรายได้จากการรับจ้างทั่วไป วันละประมาณ 100 บาท แต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ยายประสบอุบัติเหตุขาหัก ทำให้เดินและทำงานไม่ได้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | วันนี้ของน้องเนย
เมื่อเร็วๆ นี้ EDF ได้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมเด็กนักเรียนทุนที่กำ•ลังจะเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดนครราชสีมา และได้พบกับ น้องเนย หรือ ด.ญ.อังคณา ประถมพาณิชย์ อายุ 15 ปี เด็กนักเรียนทุน EDF ชั้น ม.3 โรงเรียนบ้านพระมะขามสามัคคี อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ซึ่งเรื่องราวของเธอทำ•ให้เรารู้สึกประทับใจ และอยากแบ่งปันให้กับทุกท่านได้รับรู้
น้องเนยเป็นเสาหลักเพียงคนเดียวของครอบครัว ในการเลี้ยงดูยายที่แก่ชราถึง 4 คน น้องชายแท้ๆ ของเธอ 1 คน และน้องสาวที่เป็นลูกของญาตินำ•มาฝากเลี้ยงอีก 1 คน ทั้ง 7 ชีวิตอาศัยอยู่ในบ้านไม้ชั้นเดียวยกพื้น ด้านบนมีเพียงห้องโถงเล็กๆ ที่ทุกชีวิตในบ้านอาศัยอยู่รวมกัน
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ชะตาชีวิตที่เลือกไม่ได้ หลังจากพ่อแยกทางกับแม่เพื่อไปมีครอบครัวใหม่เมื่อ 4 ปีก่อน พี่ชายเพียงคนเดียวที่พอจะพึ่งพาได้ก็หนีหายไป และไม่ติดต่อกลับมาอีกเลย ทำให้ “น้องหญิง” หรือ อรสา เนตรพันทัง เด็กหญิงตัวเล็กๆวัย 12 ปี นักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียนบ้านมาบนาดี จังหวัดฉะเชิงเทรา ต้องอาศัยอยู่กับนางบัวทอง ผู้เป็นแม่เพียง 2 คน ในบ้านที่มีห้องนอนเล็กๆ เพียงห้องเดียว ไม่มีสิ่ง อำนวยความสะดวกใดๆ ห้องนํ้าไม่มีหลังคา มีเพียงแผ่นสังกะสีและผ้าปูที่นอนเก่าๆ ปิดไว้รอบๆ เพื่อบังสายตาผู้คน
เมื่อขาดสามีและลูกชายที่เป็นเสาหลักแม่จึงต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้น เพื่อหาเงินให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายแบบวันต่อวัน โดยรับจ้างทำงานทุกอย่าง แล้วแต่จะมีคนจ้างให้ทำ โดยน้องหญิงจะไปช่วยแม่ทำงานในวันหยุดอยู่เสมอ
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | คุณเปรมจิต บำรัมย์ อดีตนักเรียนทุน EDF (พ.ศ.2535-2540)
คุณเปรมจิต บำรัมย์ อดีตนักเรียนทุน EDF ชั้นม.1-6 (พ.ศ.2535-2540) จังหวัดยโสธร
การศึกษา : พยาบาลศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี มหาวิทยาลัยมหิดล
หน้าที่การงานในปัจจุบัน : พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ โรงพยาบาลเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
“ดิฉันไม่เคยน้อยใจที่เกิดมายากจน ไม่เคยเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนที่รํ่ารวย ดิฉันคิดว่าคนเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่มีสิทธิที่จะเลือกทางเดินที่ดีให้กับตัวเองได้”
“ดิฉันคิดว่าการที่ดิฉันประสบความสำเร็จในทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งมาจากที่ดิฉันได้รับโอกาสทางการศึกษาจากผู้อุปการะผ่าน EDF ตั้งแต่ชั้น ม.1 ถึง ม.6 และอีกส่วนมาจากความมุ่งมั่นตั้งใจของดิฉันเอง-
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | คุณเสาวนีย์ สร้างนอก อดีตนักเรียนทุน EDF (พ.ศ.2533-2535)
คุณเสาวนีย์ สร้างนอก อดีตนักเรียนทุน EDF ชั้น ม.1-ม.3 (พ.ศ.2533-2535) จังหวัดขอนแก่น
การศึกษา: ครุศาสตรบัณฑิต สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา พ.ศ. 2543
หน้าที่การงานในปัจจุบัน: ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนแสงอรุณ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ
“ตอนที่ได้รับทุนจาก EDF รู้สึกดีใจมาก คนบางคนอาจคิดว่าเป็นจำนวนเงินที่ไม่มาก แต่สำหรับคนยากคนจนที่ไม่มีทางเลือกมากนักอย่างครอบครัวของดิฉันทุนการศึกษานี้ถือเป็นสิ่งที่มีค่ามากค่ะ”
“วันนี้เมื่อคิดย้อนกลับไป ดิฉันก็ยังรู้สึกแปลกใจว่า เด็กบ้านนอกจนๆ คนหนึ่ง มาทำอะไรอยู่ตรงนี้ แล้วมาถึงตรงจุดนี้ได้อย่างไร จริงๆ ดิฉันก็ไม่ได้เป็นคนที่เก่งอะไรเลย แต่ว่าดิฉันเป็นคนโชคดีที่ได้รับโอกาส-
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | "คำขอบคุณจากใจ"
ในเดือนพฤศจิกายนนี้ EDF ขอนำเสนอบทสัมภาษณ์สั้นๆซึ่งแสดงออกถึงความประทับใจที่ได้รับทุนการศึกษาของ “น้องแพร”และ “น้องจ๊ะจ๋า” ซึ่งเป็นเด็กนักเรียนทุน EDF ที่ได้รับทุนการศึกษาในปี 2555 นี้ ซึ่งนอกจากทุนการศึกษาที่พวกเธอได้รับแล้ว น้องๆทั้งสองคนยังรู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่ได้รับของขวัญจากผู้บริจาคทุนของเธอ EDF จึงขอเป็นสื่อกลางนำคำขอบคุณจากใจของน้องๆทั้งสองคนเพื่อมาแบ่งปันให้กับทุกท่านได้รับทราบค่ะ
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | แม่ของหนู วันแม่แห่งชาติในแต่ละปีถือเป็นเป็นวันที่มีความหมายอย่างยิ่งหรับเด็กๆทุกคน เนื่องจากจะเป็นวันที่เด็กๆจะได้มีโอกาสแสดงออกซึ่งความรักแก่คุณแม่ของน้องๆได้อย่างไม่เขินอายรวมถึงการที่โรงเรียนต่างๆจะร่วมกันจัดกิจกรรมวันแม่ให้เด็กๆได้มีโอกาสแสดงออกถึงกตัญญูกตเวทิตาต่อแม่ผู้มีพระคุณของตนเองค่ะ
ในโอกาสวันแม่ในเดือนสิงหาคมนี้ EDF ขอนำเสนอความในใจและความรู้สึกของน้องๆที่มีแม่ผู้มีพระคุณผ่าน เรื่องราว "แม่ของหนู" ซึ่งเป็นข้อความเรานำมาจากจดหมายของน้องๆหลายๆคนที่ยังรอการอุปการะทุนการศึกษาในปีนี้ค่ะ ซึ่งเรื่องราวที่บอกเล่าถึงแม่ ผ่านลายมือของพวกเขาทำให้เรารู้สึกประทับใจถึงความรักอันบริสุทธุ์ที่ที่ลูกมีต่อแม่ในหลากหลายรูปแบบค่ะ |
อ่านต่อ |
|
|
|
| | "โอกาสที่ขาดหายไป" ด้วยวัยเพียง 12 ปี แต่ “น้ำพุ” หรือเด็กชายศรัณยู ไกรหาญ เด็กนักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียนบ้านบุ (ประชารัฐพัฒนา) จังหวัดนครราชสีมา กลับไม่มีโอกาสในการได้รับความต้องการพื้นฐานใดๆที่เด็กๆทั่วไปพึงจะได้รับ
น้ำพุอาศัยอยู่กับพ่อที่พิการขาขาดในสิ่งที่เขาเรียกว่า “บ้าน” แต่สิ่งที่เห็นคือเพิงไม้เก่าๆคับแคบ อยู่ห่างไกลชุมชน มุงด้วยสังกะสีและแผ่นไม้อัดที่ผุพัง ภายในไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ หากคืนไหนฝนตกหนัก สองพ่อลูกต้องเดินตากฝนไปอาศัยนอนในศาลาวัดที่อยู่ห่างจากบ้านประมาณ 1 กิโลเมตร |
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ชีวิตที่ยังรอ“แสงสว่าง” ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ระหว่างการเดินทางเยี่ยมบ้านเด็กนักเรียนที่สมัครขอรับทุนการศึกษา EDF ประจำปี 2555เราได้มีโอกาสพบกับ “น้องต่าย” หรือ พรทิพวัลย์ ยังวันทนา เด็กสาวอายุ 17ปี นักเรียนชั้น ม.5โรงเรียนเขาสมิงวิทยาคม จังหวัดตราด
ปัจจุบันเธออาศัยอยู่กับนายแฉล้ม ยังวันทนา บิดา อายุ 69 ปีที่ตาบอดเนื่องจากเป็นต้อกระจกแต่ไม่มีเงินรักษา และยังมีโรคประจำตัวคือความดันและเบาหวาน “เจริญ” พี่ชายที่พิการขาลีบเดินไม่ได้และสติไม่ดี “เต้ยและโต้ง” น้องชาย อายุ 13 ปีเรียนอยู่ชั้น ม.1และ 10ปี เรียนอยู่ชั้น ป.5 และ “นํ้าตาล” น้องสาวคนเล็กอายุ 5ปี เรียนอยู่ชั้นอนุบาล ทั้ง 6ชีวิตอาศัยอยู่ในบ้านไม้เก่าๆ ชั้นเดียวยกพื้น ที่แทบจะว่างเปล่า มีเพียงฟูกและมุ้งเก่าๆ อยู่กลางบ้านที่เปิดโล่ง
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | สุนาวรรณ บุญนาม อดีตนักเรียนทุนEDF (พ.ศ.2533-2535)
คุณสุนาวรรณ บุญนาม อดีตนักเรียนทุนEDF ม.1-3 (พ.ศ.2533-2535) จังหวัดขอนแก่น
การศึกษา: ปริญญาโททางด้านบริหารการศึกษา
หน้าที่การงานในปัจจุบัน: หัวหน้าส่วนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบล
ดิฉันชื่อ สุนาวรรณ บุญนาม เคยเป็นเด็กนักเรียนทุนของ EDF โดยได้รับทุนการศึกษาจากผู้บริจาคทุนท่านหนึ่ง ในสมัยที่ดิฉันกำลังจะเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านคอนฉิม จังหวัดขอนแก่น ทุกวันนี้ ดิฉันยังจำชื่อท่านได้เป็นอย่างดี
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | "ความรักของฝน" ปัญหาครอบครัวแตกแยก และเด็กๆถูกทอดทิ้งให้อยู่กับญาติที่แก่ชราในชนบท ถือเป็นปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่บั่นทอนคุณภาพชีวิต และจิตใจของเด็กนักเรียนด้อยโอกาสในชนบท ซึ่งความไม่พร้อมหลายๆด้านของพ่อแม่ ที่นำไปสู่การหย่าร้าง ได้ส่งผลกระทบ ต่อเด็กๆที่เป็นลูกของพวกเขาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
วันนี้ EDF ขอนำเสนอเรื่องราวของ “น้องฝน” หรือเด็กหญิงปรีดาพร วงษ์ศิริ อายุ14ปี เด็กนักเรียนทุน EDF ชั้น ม.2 โรงเรียนนิคมสร้างตนเองลำตะคอง 4 จังหวัดนครราชสีมา น้องฝนเป็นหนึ่งในนักเรียนทุนของ EDF ที่ได้รับทุนการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นตั้งแต่ปี 2553 |
อ่านต่อ |
|
|
|
| | "ฝันของฟ้า" น้องฟ้า หรือศิวาพร เนื่องชมพู ปัจจุบันอายุ 16 ปี เรียนอยู่ชั้น ม.3 โรงเรียนบ้านวังไทร ตำบลวังไทร อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา น้องฟ้าเป็นเด็กนักเรียนทุน EDF ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) โดยได้รับทุนตั้งแต่ปีการศึกษา 2552
น้องฟ้าเล่าถึงความรู้สึกที่ได้รับทุนครั้งแรก ซึ่งตอนนั้นเธอเรียนอยู่ชั้น ม.1ว่า “วันนั้นครูเรียกหนูไปพบที่ห้องพักครู และบอกว่าหนูเป็นนักเรียนหนึ่งใน3คนของโรงเรียนที่ได้รับทุนให้เรียนต่อจนจบม.3เย็นวันนั้น หนูรีบกลับบ้านไปบอกยายและกอดยาย ยายดีใจมากจนกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ หลังจากนั้นหนูก็คิดเสมอว่าหนูจะต้องตั้งใจเรียน และเป็นเด็กดีให้สมกับความกรุณาของผู้มีพระคุณที่ให้ทุนหนู ” |
อ่านต่อ |
|
|
|
| | อีกมุมหนึ่งของชีวิตในอุทกภัย เด็กชายธีรวัฒน์ ดอกไม้ อายุ 12 ปี นักเรียนชั้นป.6 โรงเรียนบ้านหนองบัวไชยวาน จังหวัดศรีษะเกษ เป็นเด็กนักเรียนยากจนอีกคนหนึ่งที่สมัครขอรับทุนการศึกษาEDFในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นประจำปีการศึกษา 2555 ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในปี 2554 นี้
แต่ผลกระทบที่เขาได้รับอาจจะแตกต่างจากคนอื่น เนื่องจากบ้านของธีรวัฒน์ที่จังหวัดศรีสะเกษนั้นไม่ได้ถูกน้ำท่วมแต่อย่างใด |
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ความฝันของน้องโบ หลังจากถูกพ่อแม่ทิ้งให้อยู่กับยายและลุงที่พิการตั้งแต่วัยยังแบเบาะทำให้ เด็กหญิงอทิตยา สาวิสัย หรือน้องโบ นักเรียนชั้นป.6 โรงเรียนบ้านเลิงคา จังหวัดร้อยเอ็ด ไม่เคยเห็นแม้แต่หน้าของพ่อและแม่แท้ๆของตัวเอง ไม่มีแม้แต่รูปถ่ายสักใบไว้ดูต่างหน้า
ยายและลุงเป็นคนหาเลี้ยงน้องโบมาโดยตลอดโดยพ่อและแม่ไม่เคยส่งเงินมาช่วยเหลือเลยแม้แต่ครั้งเดียว ครอบครัวของน้องโบมีที่นาเล็กน้อยสำหรับปลูกข้าวไว้สำหรับพอกินในครอบครัว |
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ความหวังที่ยังไม่หายไปกับสายน้ำ จากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งร้ายแรงทีสุดในรอบ30ปี ในพื้นที่กว่า 30 จังหวัดของประเทศไทยในช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ประสบภัยจำนวนนับล้านคน บางคนต้องกลายเป็นผู้ว่างงาน ขาดรายได้ ในขณะที่อีกหลายคนต้องพลัดพรากจากครอบครัวและอพยพไปพักอาศัยอยู่ตามศูนย์พักพิงต่างๆ และคนอีกจำนวนมากต้องสูญเสียทรัพย์สินไปกับอุทกภัย
ในวันนี้เราขอนำเสนอเรื่องราวอีกมุมหนึ่งของครอบครัว “น้องปิ” หรือเด็กหญิง ปิยฉัตร นนทวัน เด็กหญิงวัย 12 ปี นักเรียนชั้นป.6 โรงเรียนบ้านคูเดื่อ ที่อาศัยอยู่กับตายายและน้องสาวเล็กๆอีก 2คนที่บ้านคูเดื่อ ตำบลแจระแม จังหวัดอุบลราชธานี บ้านคูเดื่อเป็นอีกหนึ่งในพื้นที่ประสบอุทกภัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อาจจะไม่เป็นข่าวตามสื่อต่างๆมากนัก แต่ผลกระทบจากอุทกภัยในครั้งนี้ เหมือนเป็นการซ้ำเติมทำชีวิตความเป็นอยู่ของทั้ง 5 ชีวิตในครอบครัวที่ลำบากอยู่แล้วให้แย่ลงไปอีก
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ความสูญเสียของรีอาร์
"รีอาร์ สาและ” เป็นบุตรสาวคนโตของนายยูโซ๊ะ สาและ และนางบีอะห์ สาและ ครอบครัวชาวไทยมุสลิม ในจังหวัดนราธิวาส โดยรีอาร์มีน้องสาวและน้องชายอีก 4 คนคือ นูรียะห์, รีดาร์, สุไฮมิง และอามานี
ปัจจุบันรีอาร์เรียนอยู่ชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยชุมชนนราธิวาส ครอบครัวของรีอาร์มีฐานะยากจน พ่อและแม่ของเธอมีอาชีพรับจ้างกรีดยางเพื่อหาเงินมาจุนเจือครอบครัวและเลี้ยงดูลูกๆทั้ง 5 คน รีอาร์มีความฝันอยากที่จะเป็นครู
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | วันที่ไม่มีวันลืมของมัซวิน EDF ขอนำเสนอเรื่องราวของเด็กหญิงต่วนซารีฟะห์มัซวิน อดุลรัส หรือ มัซวิน เด็กหญิงอายุ 11 ปี นักเรียนชั้นป.5 โรงเรียนอามานะศักดิ์ จังหวัดปัตตานี ปัจจุบันอาศัยอูยู่กับแม่ พี่สาวอายุ15ปี น้องสาว และน้องชาย อายุ 7 และ 8 ปีตามลำดับ รวม 5 คน ในตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี มัซวิน เป็นหนึ่งในนักเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับทุนการศึกษาในโครงการ “ใต้ฟ้าเดียวกัน” ในปีการศึกษา 2554 นี้
“ตั้งแต่จำความได้หนูมีความสุขและอบอุ่นมาก พ่อรักหนูมาก และพ่อเป็นคนใจดีรักครอบครัว ชอบช่วยเหลือคนอื่นอยู่เสมอ ทุกคนจึงรักและเกรงใจพ่อ หนูภูมิใจในตัวพ่อมาก พ่อชอบพาพวกเราไปเที่ยวบ่อยๆ หนูชอบมาก |
อ่านต่อ |
|
|
|
| | วันเปิดเทอมของ น้องตาว “น้องตาว” หรือเด็กหญิงวันนิดา อุลัยพงษ์ นักเรียนชั้นม.1 โรงเรียนบ้านแสนกลาง ตำบลพระแก้ว อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันน้องตาวอาศัยอยู่กับยาย ในบ้านไม้เก่าๆหลังหนึ่งที่ไม่มีแม้แต่หน้าต่าง ต้องใช้ผ้าขาวม้าและเสื้อเก่าๆใช้ประทังเพื่อกันแดดฝน และหากคืนไหนมีลมพายุหรือฝนตกหนัก น้องตาว และยายก็จะไม่ได้นอน |
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ความฝันของน้องปลาย หลังจากแม่เสียชีวิตไปด้วยโรคมะเร็งเต้านม "น้องปลาย" หรือเด็กหญิงทรรศิญา ทองดีนอก อายุ 13 ปี นักเรียนชั้น ม.1 โรงเรียนบ้านเกิ้ง จังหวัดขอนแก่น ก็ต้องอาศัยอยู่กับพ่อ ในบ้านไม้หลังเก่าๆ ที่ในวันนี้ดูเงียบเหงาไปถนัดตา เพิงขายก๋วยเตี๋ยวของแม่ที่เมื่อก่อนน้องปลายเคยไปช่วยงานในทุกวันเสาร์อาทิตย์ และถือเป็นรายได้หลักของครอบครัว ในวันนี้ก็ต้องให้ญาติมาช่วยดูแลแทน |
อ่านต่อ |
|
|
|
| | จดหมายจากน้องนิล ในช่วงเวลาอีกไม่ถึงหนึ่งเดือนก่อนเปิดเทอมในเดือนพฤษภาคม 2554 นี้ EDF อยากขอนำเสนอเรื่องเล่าผ่านจดหมายของ เด็กหญิงรสสุคนธ์ จันดา หรือ “น้องนิล” ปัจจุบันอายุ 13 ปี เธอเรียนจบชั้นป.6 จากโรงเรียนบ้านหนองห้าง จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จดหมายที่เธอเขียนมานั้นทำให้ทีมงานของเรารู้สึกสะเทือนใจเป็นอย่างมาก และคิดว่า น้องนิล น่าจะเป็นตัวแทนบอกเล่าเรื่องราว แทนน้องๆอีก 1,198 คนที่ยังไม่ได้รับทุนการศึกษาได้เป็นอย่างดี |
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ความหวังที่รอวันเติมเต็ม
เด็กหญิงจารุวรรณ สีชมภู หรือน้องฝ้าย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเกิ้ง จังหวัดขอนแก่น ถึงแม้จะยากจนแต่น้องฝ้ายก็เป็นเด็กตั้งใจเรียน เธอสอบได้เกรดเฉลี่ย 3.4 และมีความฝันว่าอยากจะเป็นหมอ เพราะเห็นความเจ็บป่วยของคนในหมู่บ้านแล้วรู้สึกสงสาร ต้องทนทุกข์ทรมาน เพราะหมู่บ้านอยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาลค่อนข้างมาก การเดินทางก็ไม่สะดวก |
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | วันสุดท้ายที่ไม่เหลือใคร “นอกจาก ความยากจน ที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่ออนาคตทางการศึกษาของน้องๆในชนบทแล้ว ปัญหาครอบครัวแตกแยก และขาดความอบอุ่นยังซ้ำเติมทำให้เด็กๆนับพันนับหมื่นคนต้องตกอยู่ในสภาพที่ ไม่เหลือใคร ” |
อ่านต่อ |
|
|
|
| | วันที่เสียงพูดที่ไม่ชัด แต่มีคนได้ยิน หลังจากที่ EDF ได้นำเสนอเรื่องราวของเด็กหญิง มาลี ถันพลไกร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่.1 โรงเรียนบ้านโคกโต่งโต้น ต.หนองบัวบาน อ.จตุรัส จ.ชัยภูมิ ซึ่งเธอเป็นเด็กที่มีความผิดปกติทางการพูด ช่องเพดานปากโหว่มาแต่กำเนิดนั้น ในที่สุดเสียงพูดของเธอที่อาจฟังดูไม่ชัด ก็มีคนได้ยิน |
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ชีวิตที่ถูกลืม
ในเพิงเก่าๆที่สร้างจากเศษวัสดุก่อสร้าง มุงด้วยหญ้าคาซึ่งแทบจะคุ้มแดดคุ้มฝนไม่ได้เลย ใครจะรู้ว่ามี 4 ชีวิตอาศัยอยู่รวมกันอย่างแออัด น้องขวัญ หรือเด็กหญิงขวัญฤดี นงจันทึก อายุ 12 ปี อาศัยอยู่ในที่ๆเธอบอกกับเราว่าเป็น “บ้าน” หลังนี้ กับตาและยาย และน้องต่างพ่ออายุ 2 ขวบอีกหนึ่งคน
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ความหวังของมาลินี ปัญหาเรื่องการหย่าร้างกำลังเป็นปัญหาสำคัญที่กำลังกัดกร่อนรากฐานของสถาบันครอบครัวในสังคมชนบท และผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ เด็กๆ ที่ต้องกลายเป็นเด็กกำพร้าทั้งๆที่พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ บางคนอาศัยอยู่กับพ่อ บางคนอาศัยอยู่กับแม่ แต่ที่ร้ายแรงที่สุดคือ เด็กถูกทอดทิ้งใหญ่อยู่กับญาติ หรือตายาย เนื่องจากถูกมองว่าเป็นส่วนเกินของครอบครัวใหม่ |
อ่านต่อ |
|
|
|
| | แม้ร่างกายจะพิการ แต่หัวใจไม่เคยพิการ
เด็กชายอุ้มบุญ หมายเขา หรือ "น้องอุ้ม" เกิดวันที่ 14 เดือน มกราคม พ.ศ. 2543 อาศัยอยู่กับพ่อแม่ และพี่สาวอีก 1 คน ปัจจุบันเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านกระบี่ ตำบาลหนองหญ้าลาด อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
วันแรกที่น้องอุ้มลืมตาดูโลก น้องอุ้มเกิดมาพิการมีอวัยวะไม่ครบเหมือนเด็กทั่วไป แม่ผู้ให้กำเนิดเมื่อเห็นหน้าน้องอุ้มในครั้งแรกแทบไม่อยากเชื่อสายตาตัวเองว่าลูกชายของตนจะเป็นเช่นนี้
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ถึงพูดได้ไม่ชัด แต่หนูก็อยากให้ท่านรับฟัง เราขอพาท่านไปรู้จักกับเด็กหญิง มาลี ถันพลไกร อายุ 14 ปี เรียนชั้น ม.1 โรงเรียนบ้านโคกโต่งโต้น ต.หนองบัวบาน อ.จตุรัส จ.ชัยภูมิ นอกจากน้องมาลีจะเป็นเด็กด้อยโอกาสแล้ว เธอยังเป็นเด็กที่มีความผิดปกติทางการพูด ช่องเพดานปากโหว่มาแต่กำเนิด เธอเคยได้รับการผ่าตัดตกแต่งช่องเพดานปากโดยหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ที่มาให้บริการในจังหวัด ตอนเธออายุ 10 ปี แต่ไม่ได้รับการฝึกพูด และติดตามผลการรักษาหลังผ่าตัดอีกเลย ทำให้เธอกลายเป็นเด็กที่พูดไม่ชัดเรื่อยมา |
อ่านต่อ |
|
|
|
| | การสอบครั้งสุดท้ายในชีวิตของผม “ผมรู้ว่าตากับยายเหนื่อยและลำบากมากที่ต้องส่งเสียผมกับน้องให้เรียนหนังสือ แต่ท่านก็ไม่เคยบ่นอะไรเลย ช่วงนี้ใกล้สอบปลายภาคแล้วครับ ผมรู้ดีว่านี่อาจจะเป็นการสอบครั้งสุดท้ายในชีวิตของผม แต่ผมจะพยายามทำให้ดีที่สุดครับเพื่อตากับยาย”
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | ก้อนหินที่มีค่า “หนูอยากเรียนให้สูงๆ โตขึ้นจะได้ไปทำงานในบริษัท เพื่อหาเงินมาเลี้ยงครอบรัวให้ได้มาก ๆ ค่ะ” นี้คือเสียงอันแผ่วเบาจากปากของ "น้องนุ้ย" เด็กผู้หญิงตัวเล็ก ๆ แต่แฝงไปด้วยความจริงใจ และสายตาที่มุ่งมั่นว่าเขาต้องทำให้สิ่งที่เธอพูดไปนั้นให้เป็นจริงให้ได้ |
อ่านต่อ |
|
|
|
| | สมบัติชิ้นสุดท้าย
|
"แม่ต้องนำที่ดินที่เป็นสมบัติชิ้นสุดท้ายที่พ่อทิ้งไว้ให้ ไปจำนองเพื่อส่งลูกๆทั้งสามคนได้เรียนหนังสือ แต่หนูคิดว่าสมบัติชิ้นสุดท้ายที่จะติดตัวเราไปตลอดชีวิตก็คือ ความรู้ และ ความดี" |
|
อ่านต่อ |
|
|
|
| | เด็กหญิงยอดกตัญญู
บ่อยครั้งที่ครูโรงเรียนบ้านพนัสดงสว่างวิทย์ ตำบลชานุวรรณ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ต้องมาตามเด็กหญิงนริศรา เบื้องบน นักเรียนชั้นประถม 6 ถึงที่บ้าน และทุกครั้งก็จะเห็นเด็กหญิงคนนี้ดูแลพ่อซึ่งป่วยเป็นอัมพาต ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
|
อ่านต่อ |
|
|