พันธกิจและวิสัยทัศน์
ผู้บริหารและบุคลากร
ความน่าเชื่อถือและความโปร่งใส
รายงานทางการเงิน
กลุ่มมูลนิธิ EDF
ข้อมูลข่าวสารต่างๆ
ข่าวและกิจกรรมล่าสุด
เรื่องจริงของเด็กนักเรียนทุน
เสียงจากผู้บริจาค
ดาวน์โหลด
แบบฟอร์มการบริจาค
แผ่นพับ
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
ติดต่อ EDF
ร่วมงานกับ EDF
คำถามที่พบบ่อย
โครงการทุนการศึกษา
นักเรียนยากจนในระดับ ม.ต้น
นักเรียนเรียนดีแต่ยากจนในระดับ ม.ต้น
นักเรียนเรียนดีแต่ยากจนในระดับ ม.ปลาย / อาชีวศึกษา
นักเรียนพิการเรียนร่วมในโรงเรียนปกติ
นักเรียนกำพร้า 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้
โครงการส่งเสริมศักยภาพทางการศึกษา
โครงการห้องสมุด
โครงการส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
โครงการจักรยานยืมเรียน
โครงการส่งเสริมการเกษตรและการฝึกอาชีพ
โครงการโรงเรียนพึ่งตนเองเพื่อการพัฒนา
โครงการส่งเสริมสุขภาพและสุขอนามัย
โครงการส่งเสริมการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ
โครงการบรรเทาทุกข์ฉุกเฉิน
โครงการอื่นๆ
โครงการกิจกรรมอาสา
โครงการท่องเที่ยวเชิงการศึกษา
บริจาคทุนการศึกษา
สนับสนุนโครงการต่างๆของEDF
ติดต่อกับเด็กนักเรียนทุนของท่าน
บริจาคสมทบทุนโครงการบรรเทา ทุกข์ฉุกเฉิน
ร่วมจัดกิจกรรมพิเศษกับ EDF
ร่วมเป็นอาสาสมัครEDF
โครงการเพื่อสังคมสำหรับบริษัทและองค์กร
THA
ENG
JPN
เกี่ยวกับEDF
พันธกิจและวิสัยทัศน์
ผู้บริหารและบุคลากร
ความน่าเชื่อถือและความโปร่งใส
รายงานทางการเงิน
กลุ่มมูลนิธิ EDF
ข้อมูลข่าวสารต่างๆ >>
ข่าวและกิจกรรมล่าสุด
เรื่องจริงของเด็กนักเรียนทุน
เสียงจากผู้บริจาค
ดาวน์โหลด >>
แบบฟอร์มการบริจาค
แผ่นพับ
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
ติดต่อ EDF
ร่วมงานกับ EDF
คำถามที่พบบ่อย
หน้าหลัก
>
เสียงจากผู้บริจาคทุน EDF
> ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์ จากปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สู่การทำงานเพื่อสังคมกับ EDF
ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์ จากปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สู่การทำงานเพื่อสังคมกับ EDF
"ผมคิดว่าการศึกษาเป็นยาสารพัดนึกนะ แน่นอนว่าคนมีการศึกษาย่อมดีกว่าคนไม่มีโอกาสเรียน เพราะว่าการศึกษาทำให้คนฉลาดรอบรู้ เมื่อเกิดปัญญา ก็มีความคิดดีๆ เมื่อเขาคิดเก่ง ก็แก้ปัญหาได้เก่ง เขาก็สามารถที่จะคิดทำ หรือดัดแปลงอะไรต่างๆ ได้ ผมเคยเขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า
“การศึกษาคือยาหม้อใหญ่”
การศึกษาก็เหมือนกับยาที่จะสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคต่างๆ ได้ แต่ว่ามันไม่ได้แก้แบบตรงๆ ไม่ใช่ยาแผนปัจจุบัน ปวดหัวก็กินยาแก้ปวดหัวแล้วหายปวด ไม่ใช่แบบนั้น แต่มันเป็นเหมือนกับยาบำรุง ยาอายุวัฒนะ ที่สร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเรา"
ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์ จากปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สู่การทำงานเพื่อสังคมกับ EDF
EDF
ได้รับเกียรติอย่างสูงจาก
ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2542-2544)
ในการเข้าร่วมเป็นกรรมการบริหารมูลนิธิ ซึ่งประสบการณ์การทำงานด้านการศึกษามากกว่า 40 ปี ของท่าน ถือว่ามีคุณค่าอย่ายิ่งต่อการพัฒนาการดำเนินงานด้านการพัฒนา และยกระดับคุณภาพการศึกษาเพื่อเด็กและเยาวชนในพื้นที่ชนบทห่างไกลของ EDF ซึ่ง EDF ขอแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จัก มุมมอง ความคิด และปรัชญาการทำงานของ ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์ ผ่านบทสัมภาษณ์พิเศษค่ะ
EDF
: อยากให้อาจารย์ช่วยเล่าประวัติส่วนตัวโดยสังเขปค่ะ
ดร.พนม
:ผมเริ่มทำงานเป็นครูสอนในโรงเรียนประถมศึกษาตั้งแต่ปี 2507 และก้าวหน้าขึ้นมาตามลำดับ จากครูก็มาเป็นนักวิจัย เป็นนักวางแผนการศึกษา เป็นอธิบดี เป็นเลขาธิการ เป็นรองปลัดกระทรวง จนมาเป็นผู้บริหารการศึกษาสูงสุดของกระทรวงศึกษาธิการ คือ เป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
แต่ตรงนั้นไม่สำคัญเท่าไหร่ สำคัญว่า
หลังจากที่เรารับราชการมานาน เราก็มองเห็นว่า ลำพังราชการอย่างเดียวทำงานเพื่อประชาชน มันคงไม่สำเร็จหรอก ถ้าหากไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนอื่นของสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคประชาชน
เมื่อ EDF ชักชวนให้ผมมาร่วมเป็นกรรมการบริหารแล้ว ผมก็ดูเจตนารมณ์ของ EDF ว่ามาช่วยเหลือพัฒนาการศึกษาโดยเน้นในท้องถิ่นที่ขาดแคลนที่ด้อยกว่าที่อื่น ช่วยเหลือให้เขาลืมตาอ้าปากได้ ช่วยเหลือตนเองได้ ผมว่าเป็นเจตนารมณ์ที่ดี ผมก็เลยสนใจมาร่วมด้วย
หลังจากเกษียณอายุราชการ ผมก็มีความคิดเสมอว่า จะช่วยงานสังคมในตอนบั้นปลายของชีวิตได้อย่างไร ซึ่งการดำเนินงานของ EDFสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของผมด้วย ผมก็มารับหน้าที่ช่วยเหลือ คิดว่ามีอะไรที่จะช่วยได้ ทำได้ ก็ยินดี เรื่องการศึกษาก็เป็นเรื่องที่ผมผ่านมาทุกอย่างแล้ว ตอนนี้ผมอาบุ 69 ปี ย่างเข้า 70 ปี ยังพอมีเวลา ทำงานได้มากเท่าไหร่ ก็ต้องรีบๆ ทำ
EDF
: จุดเริ่มต้นที่ทำให้อาจารย์รู้จัก EDF คืออะไร
ดร.พนม
:ผมรู้จัก EDF ผ่าน ดร.ธงชัย ชิวปรีชา** สมัยผมดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ตอนนั้นท่านทำโครงการอบรมการเรียนการสอนลูกคิดญี่ปุ่นร่วมกับ EDF ดร.ธงชัย ก็เลยเอาโครงการนี้มาแนะนำให้ผมรู้จัก เพราะเขารู้ว่าผมเรียนมาทางสาขาคณิตศาสตร์ และลูกคิดกับคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกัน ผมเห็นด้วยและสนับสนุนเรื่องการส่งเสริมการใช้ลูกคิด เพราะเป็นการสอนให้เด็กคิดเลขเก่ง คิดเลขในใจได้ คิดเลขเร็ว เพราะลูกคิดมันไม่มีตัวหนังสือ มันเป็น Imaginary Mathematics (จินตคณิต) ผมเป็นคนแรกที่ใช้คำว่า Imaginary Mathematics ก่อนที่ใครต่อใครจะใช้กัน หลังจากนั้น ดร. ธงชัย ก็ชวนผมไปดูงานการเรียนการสอนลูกคิดที่ญี่ปุ่น ก็ติดต่อกันมาตั้งแต่นั้นมา ส่วน ดร.ธงชัย ก็เป็นเพื่อนกัน มีอะไรก็ปรึกษาหารือพูดคุยกัน พอเขารู้ว่าผมจะเกษียณอายุราชการแล้ว ก็ชวนผมไปช่วยงาน EDF ผมก็ ยินดี
EDF
: ปรัชญาในการทำงานของอาจารย์คืออะไรคะ
ดร.พนม
:ปรัชญาในการทำงานของผม ผมจะคิดเสมอว่าประเทศชาติจะพัฒนาไปได้รอด จะต้องไม่ลืมคนที่เขาเสียเปรียบ คนที่ด้อยโอกาส เพราะฉะนั้น ช่วงที่ผมทำงาน ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งใด ผมจะคิดถึงกลุ่มคนผู้เสียเปรียบ และคนที่ด้อยโอกาสอยู่เสมอ ว่าจะต้องช่วยกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรก สำหรับกลุ่มที่เขาลืมตาอ้าปากได้ เขาช่วยตัวเองได้ เราก็ไม่ได้ว่าละทิ้งเขา แต่ว่าเขาช่วยเหลือตัวเองได้อยู่แล้ว ถ้าเรามีอะไร ถ้าไม่ซับซ้อน เร่งด่วนเกินไป เราก็จะไปช่วยคนที่เสียเปรียบ คนด้อยโอกาสก่อน มันก็เป็นความคิดที่ตรงกันกับของ EDFนะ และผมก็พยายามทำ และปรับเปลี่ยนความคิดอะไรหลายๆ อย่างในกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้คนยากคนจนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาได้มากขึ้น
EDF
: ถ้าให้มองในภาพรวมของการศึกษาของประเทศไทยเมื่อ 30 ปีก่อน กับปัจจุบัน มีความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
ดร.พนม
:เปลี่ยนแปลงเยอะมาก ที่จริงการศึกษาของไทยเราดีขึ้นมาโดยตลอด และดีขึ้นเยอะเลย เมื่อก่อนการศึกษามันเป็นสิทธิพิเศษสำหรับกลุ่มคนพิเศษ เช่น ระดับมัธยมศึกษาจะเป็นการศึกษาสำหรับคนที่มีฐานะปานกลาง หรือฐานะดีขึ้นไป แต่เดี๋ยวนี้คนธรรมดา คนยาก คนจน ก็สามารถเรียนมัธยมศึกษาได้ ถือเป็นพัฒนาการที่ดี หลายคนเขามองว่าคุณภาพการศึกษาของไทยลดลง ผมมองว่า ไม่ลดลงหรอก เดี๋ยวนี้การศึกษาได้เข้าถึงคนมากขึ้น เมื่อก่อนอัตราคนเรียนต่อระดับมัธยมศึกษามีแค่ 20-25% แต่เดี๋ยวนี้ เกือบ 100% และเมื่อก่อนคนเรียนมหาวิทยาลัยมีไม่ถึง 5% เดี๋ยวนี้เพิ่มขึ้นไปเป็น 25% เป็นเรื่องที่น่ายินดี ในเมื่อเรายกระดับการเข้าถึงการศึกษาของคนจำนวนมากนั้นขึ้นมา แน่นอนว่า คนที่อยู่หางแถวก็มี และคนก็มักจะไปดูแต่หางแถวแล้วเปรียบเทียบว่าเด็กพวกนี้ไม่เก่ง แต่หัวแถวไม่ค่อยได้มองกัน แต่ในภาพรวม การศึกษาของเราดีขึ้นมาโดยตลอด แต่ยอมรับอย่างหนึ่งว่า เราก็อยากจะเห็นการศึกษาของเราพัฒนาเร็วกว่านี้ ดีกว่านี้ เหมือนมันยังเร็วไม่ทันใจ แต่โดยรวมแล้วผมเห็นว่าดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนมากเลยนะ
EDF
: อาจารย์มีความเห็นอย่างไรกับนโยบายเรียนฟรี 15 ปีคะ
ดร.พนม
:เรื่องการเรียนฟรี ไม่มีใครปฎิเสธหรอก เพราะเป็นนโยบายที่ดี แต่ผมไม่ได้เน้นไปที่การเรียนฟรีนะ ผมเน้นไปที่ผู้รับประโยชน์น่าจะเป็นกลุ่มคนยากคนจนมากกว่า แต่ทุกวันนี้ คนมีฐานะหรือ คนจน ได้เรียนฟรีเท่ากันหมด ทั้งๆ ที่จริงแล้ว ถ้าไปถามคนที่เขามีอันจะกินส่วนใหญ่แล้ว เขาคงไม่ค่อยอยากได้หรอกชุดนักเรียน หนังสือเรียนที่รัฐบาลแจกให้ บางคนขอสละสิทธิ์ไม่รับด้วยซ้ำ ทางที่ดีถ้าเน้นไปที่เฉพาะกลุ่มคนยากคนจนที่เขาต้องการจริงๆ แล้ว จำนวนชุดนักเรียนคงจะให้ได้มากกว่าแค่หนึ่งชุดต่อคน คุณภาพก็คงจะดีขึ้น หนังสือเรียนก็คงจะได้หลายเล่มมากขึ้น ดีกว่าเน้นความไม่เสมอภาค แต่คนที่เขาต้องการจริงๆ กลับได้รับไม่เพียงพอกับความต้องการ
EDF
: อาจารย์มีความเห็นอย่างไร กับความคิดที่ว่าถ้าคนมีการศึกษาเพิ่มมากขึ้น ก็จะสามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้
ดร.พนม
:ผมคิดว่าการศึกษาเป็นยาสารพัดนึกนะ แน่นอนว่าคนมีการศึกษาย่อมดีกว่าคนไม่มีโอกาสเรียน เพราะว่าการศึกษาทำให้คนฉลาดรอบรู้ เมื่อเกิดปัญญา ก็มีความคิดดีๆ เมื่อเขาคิดเก่ง ก็แก้ปัญหาได้เก่ง เขาก็สามารถที่จะคิดทำ หรือดัดแปลงอะไรต่างๆ ได้ ผมเคยเขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า
“การศึกษาคือยาหม้อใหญ่”
การศึกษาก็เหมือนกับยาที่จะสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคต่างๆ ได้ แต่ว่ามันไม่ได้แก้แบบตรงๆ ไม่ใช่ยาแผนปัจจุบัน ปวดหัวก็กินยาแก้ปวดหัวแล้วหายปวด ไม่ใช่แบบนั้น แต่มันเป็นเหมือนกับยาบำรุง ยาอายุวัฒนะ ที่สร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเรา
EDF
: อาจารย์มีความเห็นอย่างไรกับการที่ในปัจจุบัน มีภาคประชาชน รวมถึงองค์กร มูลนิธิต่างๆ เขามาให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษากันมากขึ้น
ดร.พนม
:ผมว่าเป็นสิ่งที่ดี การที่ภาคธุรกิจ เอกชน องค์กรสาธารณกุศลต่างๆ รวมถึง EDF ด้วย เขามาให้ความสำคัญช่วยเหลือการศึกษามากๆ การศึกษามันต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เราไม่สามารถจะปล่อยให้รัฐบาลทำแต่เพียงฝ่ายเดียวได้ กำลังรัฐบาลไม่เพียงพอหรอก ถึงจะมีมากเท่าไหร่ ก็ไม่พอ ไม่ทั่วถึง เพราะฉะนั้น ทุกคนต้องช่วยกัน คำว่าช่วยในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเรื่องทรัพยากร หรือเงินทองเท่านั้น แต่รวมถึงการช่วยกันทำให้ทุกคนทุกส่วนในสังคมมองเห็นความสำคัญของการศึกษา แทนที่จะให้ภาครัฐทำแต่ฝ่ายเดียว ซึ่งบางทีก็อาจล่าช้าไม่ทันใจ พอเอกชนเข้ามาช่วยกันมากขึ้นในเรื่องการส่งเสริม สนับสนุนการศึกษา มันก็เป็นแรงกระตุ้นทำให้ทุกคนเกิดความตระหนัก ความตื่นตัว และให้ความสำคัญกับการศึกษาของคนที่ด้อยโอกาสกว่ากันมากขึ้น ปัญหาก็จะแก้ได้เร็วขึ้น ตรงจุดมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี
EDF
: อยากให้อาจารย์กล่าวอะไรสักเล็กน้อยถึงผู้บริจาคทุนของ EDF
ดร.พนม
:สำหรับผู้บริจาคแล้ว ถ้ามองแบบการทำกุศลตามหลักพุทธศาสนาแล้ว การบริจาคทานด้วยการศึกษา เป็นการทำทานที่ประเสริฐที่สุด เพราะเป็นการสร้างมนุษย์ ทำให้เขาช่วยเหลือตัวเองได้
หากมองในเชิงสังคม การที่ช่วยให้โอกาสทางการศึกษา ให้คนเขาสามารถช่วยตัวเองได้ มันเป็นวิธีการที่ลดปัญหาทางสังคมด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เป็นการป้องกันปัญหาที่ต้นเหตุ ซึ่งดีกว่าการที่จะตามแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ พอคนมีการศึกษาดีขึ้น มีปัญญา ปัญหาคนเจ็บไข้ได้ป่วย ปัญหาอาชญากรรมต่างๆ ก็จะลดลงไปในตัว เพราะฉะนั้นเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ได้ประโยชน์ ทั้งในทางตรง และทางอ้อม ในทุกๆ ด้าน
ผมขอฝากถึงทุกท่านที่หากมีโอกาสมาช่วยสังคมแล้ว ท่านสามารถเข้าไปช่วยโดยตรงเลยก็ได้ แต่ถ้าไปช่วยโดยตรงไม่ได้ จะผ่านทาง EDF เราก็ยินดี ผมว่ามันเป็นการช่วยเหลือประเทศชาติด้วย คนทำบุญก็จิตใจผ่องแผ้ว เบิกบาน
**
ดร.ธงชัย ชิวปรีชา
อดีตผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา [EDF]
2011-06-06 |
เสียงจากผู้บริจาคทุน EDF
| เปิดอ่าน 13924
ลงทะเบียนรับข้อมูลข่าวสาร EDF
มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา(EDF) 594/ 22 พาทิโอ เรสซิเดนซ์ รัชโยธิน ซอยพหลโยธิน 32 แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทร: 02-579-9209 ถึง11 | Line: @edfthai | อีเมล์:
[email protected]
Connect with EDF
มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนาเป็นองค์กรสาธารณกุศลลำดับที่ 255
ทุกการบริจาคผ่าน มูลนิธิฯ สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปีตามกฎหมาย
© 2011 EDF-Thailand