THA  ENG   JPN
หน้าหลัก > เรื่องจริงของเด็กนักเรียนทุน EDF > ความจนแพ้ใจแกร่ง!
ความจนแพ้ใจแกร่ง!
ความจนแพ้ใจแกร่ง! เปิดใจเด็กหนุ่มสู้ชีวิตวัย 16 เรียนดี 4 ทุกวิชาตั้งแต่ ป.2 โดย ไทยรัฐออนไลน์  19 มิ.ย. 2561
เด็ก ม. 4 หัวใจทระนง เรียนดีเกรด 4 ทุกวิชาตั้งแต่ ป.2 จนถึง ม. 1 แต่ฐานะยากจน หลังเลิกเรียน ต้องทำงานฟาร์มวัว สานหวด และรับจ้างอื่นๆ ช่วยพ่อแม่ หาเงินประทังชีวิตตนเองและจุนเจือครอบครัว...เรื่องราวของเด็กหนุ่มสู้ชีวิต ผู้ที่ไม่ยอมให้ “ความยากจน” มาบั่นทอนจิตใจ จนรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง หรือหมดพลังใจในการสร้างฝันเป็น “นักบัญชี” ของ นายปาณัสม์ คล้ายกับคำ หรือ น้องนัท อายุ 16 ปี นักเรียน โปรแกรม วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์. ม.4 ห้อง 1 โรงเรียนหนองวัวซอพิทยาคม จังหวัดอุดรธานีนี้ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ได้รับการเปิดเผยจากนางจันทร์แดง สิทธิบูรณ์ ครูชำนาญการพิเศษ งานแนะแนวการศึกษา และเป็นผู้ดูแลทุนการศึกษาของมูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา (มูลนิธิ EDF : Education for Development Foundation) ที่น้องนัทได้รับทุนการศึกษาปีละ 5 พันบาท
น้องนัทกับอาจารย์แดงผู้ดูแลทุนการศึกษา
 
“เขาเก่ง ดำรงชีวิตอยู่ได้เหมือนคนอื่น ไม่เอาฐานะยากจนมาเป็นปมด้อย นิสัยดี เรียบร้อย ฉลาด ขยัน ตั้งใจเรียน ไม่โดดเรียน เวลาว่างก็ทำการบ้าน ไม่เกี่ยงงาน ตอนเย็นก็ไปทำงานที่ฟาร์มวัว เด็กวัยนี้ไม่น่าจะต้องมาทำงานแบบนี้ได้ ต้องอายและไม่กล้าทำ บางคนมีฐานะร่ำรวย แต่ไม่ตั้งใจเหมือนเขา” อาจารย์จันทร์แดงกล่าวชื่นชมหัวดี ทั้งๆ ที่ไม่ได้เรียนพิเศษ เก่งระดับที่ 1 ของโรงเรียน
 
ด้วยฐานะที่ยากจน พ่อ แม่ มีอาชีพรับจ้างรายวันทั่วไป เป็นแรงผลักดันให้น้องนัทรู้สึกไม่อยากลำบากพ่อแม่ จึงต้องพยายามมากกว่าคนอื่นๆ อีกหลายเท่า ด้วยการขยันและตั้งใจเรียนจนสอบได้เกรด 4 ในทุกวิชา ตั้งแต่เรียนชั้น ป. 2 จนถึง ม. 1 และในระดับ ม.ต้น ผลการเรียนก็ไม่เคยต่ำกว่า 3.83 โดยก่อนที่จะมาเรียน ม.ปลายที่โรงเรียนหนองวัวซอพิทยาคมนั้น น้องนัท จบ ม.3 ด้วยเกรด 3.95 จากโรงเรียนขยายโอกาสประจำหมู่บ้าน

 

ร่างกายตัวเล็ก จนนึกว่าเป็นเด็กประถมฯ ทั้งๆ ที่ ปัจจุบันเรียนอยู่ ม. 4
 
ผู้สื่อข่าวถามมีเทคนิคเรียนเก่งอย่างไร น้องนัทถ่ายทอดแนวคิดว่า “จำ ฟังคุณครู จดไว้ ไม่มีใครเก่งมาแต่กำเนิด แต่ถ้ามีความขยัน ยังไงก็จะเก่งขึ้นมาเอง ขอแค่ขยัน”ทั้งนี้อาจารย์จันทร์แดงกล่าวย้ำความเก่งของน้องนัทด้วยว่า มีความโดดเด่นทางคณิตศาสตร์ คิดเร็วมาก หัวดี ทั้งๆ ที่ไม่ได้เรียนพิเศษอะไร เก่งระดับที่ 1 ของโรงเรียน เมื่อถูกคัดเลือกเป็นตัวแทนโรงเรียนไปสอบแข่งขันทักษะด้านการเรียนต่างๆ โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ ก็คว้ารางวัลมาทุกครั้งเลิกเรียนทำจนถึงหกโมง เสาร์ อาทิตย์ทำงานตั้งแต่ตีห้า หาเงินจุนเจือครอบครัวด้านความเป็นอยู่ น้องนัทอาศัยกับ พ่อ แม่ และพี่ชายในบ้านไม้ ใต้ถุนสูง สภาพทรุดโทรม มีมอเตอร์ไซค์เก่าๆ ที่พ่อกับแม่ใช้ในการเดินทางไปทำงาน รับจ้างรายวัน ตามที่ต่างๆ เช่น ตัดอ้อย ตัดมันสำปะหลัง ส่วนพี่ชายลาออกจากโรงเรียน เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว และช่วยพ่อแม่ทำงานรับจ้างอีกแรงหนึ่ง 
 

หลังเลิกเรียนและในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์รับจ้างทำงานในฟาร์มวัวนม
 
ส่วนน้องนัทเองก็ใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนและในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ทำงานรับจ้างทุกอย่างที่ได้เงินเพื่อหารายได้เสริมอีกทางหนึ่งทั้งตัดอ้อยตัดหญ้าสีข้าวสานหวดนึ่งข้าวเหนียวและฟาร์มวัวนม“หลังเลิกเรียนกลับถึงบ้านซักชุดนักเรียนเสร็จก็ไปส่งนมตั้งแต่สี่โมงครึ่งจนถึงหกโมงเย็นถ้างานเยอะก็ได้เงินมา100 ถ้างานน้อย50 บาทเสาร์อาทิตย์ได้วันละ150-200 บาททำตั้งแต่ตีห้าให้อาหารรีดนมไปส่งนมตัดหญ้าสีข้าวได้เงินมาก็ให้แม่เก็บ”น้องนัทอธิบายหน้าที่ที่รับผิดชอบเชื่อฟังคำสอนพ่อแม่มุทำงานเก็บเงินซื้อเครื่องใช้ในการเรียนนอกจากนี้น้องนัทยังเป็นเด็กกตัญญูเชื่อฟังคำสอนของพ่อแม่เมื่ออยากได้สิ่งใดก็ทำงานเก็บเงินซื้อเองทั้งโทรศัพท์มือถือหนังสือกระเป๋าเครื่องใช้ในการเรียนและอุปกรณ์การกีฬา
 

เวลาว่างก็ทุ่มเทให้กับการทำงานจนไม่มีโอกาสได้เที่ยวเล่นตามวัยเหมือนเด็กคนอื่นๆ
 
“ถ้าอยากได้อะไรก็ต้องทำงานหาเงินซื้อเองพ่อแม่สอนผมมาแบบนี้ครับ” น้องนัทพูดถึงคำสอนที่ยึดถือปฏิบัติมาตลอดสำหรับการเดินทางไปโรงเรียนตอนเรียนประถมศึกษาน้องนัทจะเดินเท้าไป-กลับโรงเรียนที่อยู่ห่างจากบ้านไปประมาณ1 กิโลเมตรเมื่อมาเรียนอยู่ม. 4ก็อาศัยติดรถมอเตอร์ไซค์เพื่อนข้างบ้านมาเรียนหากวันไหนเพื่อนไม่มาเรียนหรือไม่สบายก็ต้องอดเรียนด้วยผู้สื่อข่าวซักถามว่าเคยรู้สึกน้อยใจในโชคชะตาตัวเองหรือไม่น้องนัทกล่าวตามความรู้สึกที่มองโลกในแง่ดีอยู่เสมอว่า “ไม่เคยน้อยใจในโชคชะตาคนที่ลำบากกว่าผมก็มี” พร้อมเผยความคิดที่ช่วยเป็นกำลังใจยามเหนื่อยว่า“ถ้าไม่ทำก็ไม่มีใครทำถึงจะยากจนถ้าไม่ท้อก็สู้ได้ต่อไป”...
 
ซื้อไม้ไผ่ลำละ10 บาทเอามาสานหวด3 ใบขายได้ใบละ10 บาท
 
 
บ้านไม้ใต้ถุนสูงที่น้องนัทอาศัยอยู่กับพ่อแม่พี่ชาย
 
ส่วนโรงเรียนหนองวัวซอพิทยาคมที่น้องนัทเรียนอยู่ซึ่งนายอานนรักการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการนั้นทางโรงเรียนไม่มีเงินทุนที่จะดูแลเด็กเพราะมีเด็กที่ยากจนเป็นจำนวนมากนอกจากทางรัฐบาลจัดสรรให้หรือมีผู้ใหญ่ใจบุญมามอบให้เป็นครั้งคราวเรื่องราวนักสู้ชีวิตของน้องนัท ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความพยายามและมุ่งมั่นของเด็กนักเรียนยากจนคนหนึ่งในพื้นที่ชนบทห่างไกลที่ต่อสู้เพื่อความฝันเป็น“นักบัญชี” นอกจากพลังใจที่แข็งแกร่งของน้องนัทซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดแล้วหากไม่มี“ทุนเด็กยากจน”จากมูลนิธิEDF ตั้งแต่ปีการศึกษา2558 จนถึงปัจจุบันน้องนัทคงสิ้นหวังและหมดโอกาสสานต่อความฝันเพื่อไปถึงจุดหมายปลายทางที่ตั้งใจไว้ได้ต่อไปทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์รายงาน

ขอขอบคุณเนื้อหาจากไทยรัฐออนไลน์:
 https://www.thairath.co.th/content/1306961
2018-08-23 | เรื่องจริงของเด็กนักเรียนทุน EDF | เปิดอ่าน 7788

ลงทะเบียนรับข้อมูลข่าวสาร EDF

มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา(EDF)
594/ 22 พาทิโอ เรสซิเดนซ์ รัชโยธิน ซอยพหลโยธิน 32 แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทร: 02-579-9209 ถึง11 | Line: @edfthai | อีเมล์: [email protected]
Connect with EDF        
มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนาเป็นองค์กรสาธารณกุศลลำดับที่ 255
ทุกการบริจาคผ่าน มูลนิธิฯ สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปีตามกฎหมาย
© 2011 EDF-Thailand