| |
วันสุดท้ายที่ไม่เหลือใคร |
| |
| “นอกจาก ความยากจน ที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่ออนาคตทางการศึกษาของน้องๆในชนบทแล้ว ปัญหาครอบครัวแตกแยก และขาดความอบอุ่นยังซ้ำเติมทำให้เด็กๆนับพันนับหมื่นคนต้องตกอยู่ในสภาพที่ ไม่เหลือใคร ” |
|
หลังจากพ่อและแม่ต่างแยกทางเพื่อไปมีครอบครัวใหม่ “น้องกิฟท์” หรือด.ญ.ปิยวรรณ เย็นเสนาะ นักเรียนชั้น ม.1 โรงเรียนชนบทศึกษาจังหวัดขอนแก่น ได้อาศัยอยู่ร่วมกับ ตายาย น้องสาววัย 12 ปี และน้องชายวัย 5 ปีทั้ง 5 ชีวิตอาศัยอยู่รวมกันในบ้านกึ่งปูนกึ่งไม้ ที่ทรุดโทรมโทรทัศน์เก่าๆ 1 เครื่องดูเหมือนจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าเพียงชิ้นเดียวที่ช่วยให้เด็กๆได้คลายเหงายามคิดถึงพ่อกับแม่
ตาของน้องกิฟท์ปัจจุบันอายุ 80 ปี ป่วยเป็นอัมพฤกษ์ท่อนล่างครึ่งตัวมาหลายปีแล้ว นางกองเหรียญอายุ 77 ปีผู้เป็นยาย จึงต้องแบกรับภาระในการดูแลทุกคนทำงานรับจ้างมัดย้อมผ้ามัดหมี่เพื่อแลกกับค่าจ้างไม่กี่สิบบาทต่อวัน
แม่ของน้องกิฟท์ทิ้งเธอกับน้องๆไปแต่งงานใหม่เมื่อ 4 ปีก่อนหลังจากคลอดน้องชายคนเล็กได้ไม่ถึงปีหลังจากนั้นไม่นานพ่อของเธอก็ทิ้งเธอและน้องๆไปอีกคนทั้งพ่อและแม่ไม่เคยติดต่อกลับมาหาพวกเธออีกเลยไม่เคยมีแม้แต่จดหมายสักฉบับ
ยายซึ่งเป็นที่พึ่งพิงเดียวของเธอและน้องๆ ตอนนี้กลับรับจ้างมัดหมี่ไม่ได้อีกแล้วเนื่องจากดวงตาที่พร่ามัวจากต้อกระจก ทุกวันนี้น้องกิฟท์ต้องช่วยพยุงยายเวลาจะเดินไปไหนมาไหนทั้ง 5 ชีวิตจึงดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยเงินช่วยเหลือคนชราและคนพิการเพียงเดือนละ 1,000 บาท
ทุกวันนี้ยายเจียดเงินเดือนละ 220 บาทเพื่อเป็นค่าเดินทางให้น้องกิฟท์ไปเรียนหนังสือในโรงเรียนมัธยมในตัวอำเภอชนบทและในปีหน้านี้น้องสาวของน้องกิฟท์ที่กำลังจะขึ้นชั้นม.1ก็ต้องย้ายไปเรียนโรงเรียนเดียวกันนั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 440 บาท
ยายพูดพลางน้ำตาคลอดวงตาทั้งสองที่พร่ามัวว่า “ยายกับตาก็แก่มากแล้วยายก็มองไม่ค่อยเห็น ตาก็เดินไม่ได้ และยังเจ็บออดๆแอดๆทุกวันนี้เป็นห่วงหลานทั้ง 3 คนมากที่สุดยายไม่รู้จะอยู่ดูแลพวกเขาไปได้อีกนานแค่ไหน ถ้าเราไม่อยู่แล้วหลานๆจะอยู่กับใครพ่อแม่ก็ไม่มีเหมือนคนอื่นเขา”
น้องกิฟท์บอกกับเราว่า “ตอนนี้หนูไม่เหลือใครอีกแล้วนอกจากตากับยายหนูรักตากับยายมากที่สุด ใจหนูอยากเรียนสูงๆจะได้ทำงานมีเงินมารักษาตากับยายแต่ก็ไม่รู้ว่าจะเรียนได้แค่ไหน เพราะบ้านเราไม่มีเงินถ้าไม่ไหวจริงๆหนูคงต้องออกจากโรงเรียนมาทำงานหาเงิน แล้วให้น้องๆได้เรียนแทนหนูหนูสงสารตากับยายท่านเหนื่อยเพื่อพวกหนูมามากพอแล้ว”
ทุกวันนี้นอกจากความยากจนที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่ออนาคตทางการศึกษาของน้องๆในชนบทแล้วปัญหาครอบครัวแตกแยก พ่อไปทางแม่ไปทางยังเป็นสิ่งที่ซ้ำเติมและกัดกร่อนจิตใจที่บอบบางของเด็กๆเหล่านี้ สถาบันนครอบครัวในชนบทที่เคยอบอุ่นในอดีต ปัจจุบันกำลังล่มสลายและส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเด็กๆจำนวนมากที่ต้องกำพร้าทั้งที่พ่อแม่ของตนเองยังมีชีวิตอยู่
อนาคตของเด็กๆเหล่านี้จำนวนมาต้องจบลงด้วยการเข้าสู่ตลาดแรงงานไร้ฝีมือค่าแรงต่ำการสมรสก่อนวัยอันควร หรือแม้แต่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์และตกอยู่ในวังวนของความยากจนไม่ใช่แค่เพียงเศรษฐกิจ แต่รวมถึงความยากจนทางปัญญาเพียงเพราะพวกเขาขาด “โอกาส” ที่จะได้รับการศึกษาที่เพียงพอและเหมาะสม
ภาพครอบครัวของน้องกิฟท์จากซ้ายไปขวา : นายวิง เพชรัตน์ อายุ 80 ปี (ตา), ด.ญ.วนิดา เย็นเสนาะ อายุ 12 ปี (น้องสาว), ด.ญ.ปิยวรรณ เย็นเสนาะ อายุ 13 ปี (น้องกิฟท์), ด.ช.ธนะโชค เย็นเสนาะอายุ 5 ปี (น้องชาย), นางกองเหรียญ เพชรัตน์ อายุ 77 ปี (ยาย)
|
|
|
|
2011-01-12 | เรื่องจริงของเด็กนักเรียนทุน EDF | เปิดอ่าน 3536 |
|
|
|
|
|
|
ลงทะเบียนรับข้อมูลข่าวสาร EDF
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|